การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
100 4.1 วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของผู้สูงอายุ จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรที่มีจำนวน ผู้สูงอายุมากขึ้นเป็นจำนวน 12 ล้านกว่าคนจากประชากรทั้งหมดของปะเทศและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลก็คำนึงถึงปัญหาเหล่านี้โดยการออกกฎ ประกาศ หรือกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเพราะถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งหากจะพิจารณาแล้ว ก็เห็นว่าที่รัฐพึ่งคุ้มครองนั้นคงจะเป็นแค่ด้านสวัสดิการ ความเป็นอยู่ การเยียวยาซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี แล้วและควรปฏิบัติต่อไป แต่อย่าลืมว่าอีกมุมหนึ่งนั้นอาจจะเรียกว่าด้านมืดหรือด้านที่ไม่ดีของสังคม คือปัญหาอาชญากรรมซึ่งไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แม้กระทั่งบุคคลทั่วไปที่บรรลุนิติภาวะแล้ว หรือเด็กและ เยาวชนก็ตามมีแนวโน้มในการก่ออาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยทางด้าน สิ่งแวดล้อม ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจเป็นต้นที่ส่งผลให้ผู้คนทั่ว ๆ ไปก่ออาชญากรรม แต่ สำหรับผู้สูงอายุที่กระทำความผิดนั้นนอกจากปัจจัยเหล่านั้นแล้วจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงปัจจัย ด้านร่างกาย ด้านความคิดซึ่งมีความละเอียดอ่อนยิ่งว่าบุคคลทั่วไปโดยการพิจารณาจากแนวคิดทฤษฎี ดังนี้ 4.1.1 กลุ่มแนวคิดทฤษฎีด้านร่างกายและสุขภาพของผู้สูงอายุ กล่าวโดยสรุปแล้วทฤษฎีนี้เชื่อว่าความชราเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามพันธุกรรม เนื้อ เยื้อ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอวัยวะของร่างกายทำให้ร่างการเหี่ยวย่น และรวมไปถึงความ ผิดพลาดเชื่อว่าบุคคลเมื่ออายุมากขึ้นจะค่อย ๆ เกิดความผิดพลาด ผิดพลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้ง ความชราเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันปกติลดลง ทำให้ร่ายกายต่อสู้เชื้อโรคและสิ่ง แปลกปลอมได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อนทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายและส่งผลให้ผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัวเป็น จำนวนมากและเมื่อเกิดขึ้นอาจรุนแรงถึงชีวิตโดยโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุจากการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคทั่วไปที่เกิดกับคนทุกวัยคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO)ให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอย่างเร่งด่วน 4 กลุ่มโรคหลักประกอบด้วยคือ 1. โรค หลอดเลือดสมองและหัวใจ 2. โรคเบาหวาน 3. โรคมะเร็ง และ4. โรคปอดเรื้อรัง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุและพบบ่อย ๆ ได้แก่ 1. อาการสูญเสีย ความทรงจำ อาการสับสนเป็นอาการเริ่มต้นของสภาวะสมอง 2. ภาวะกระดูกพรุน คือการที่เนื้อ กระดูกบางลงทำให้เปราะและหักยุบได้ง่ายกว่าบุคคลวัยหนุ่มสาว 3. ปัญหาการหกล้ม การทรงตัวเป็น ปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้สูงอายุมีความเปราะบางของกระดูกเมื่อหกล้มก็อาจทำให้กระดูกหักง่าย และ มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย 4. การนอนไม่หลับ หลับยาก อาการนอนไม่หลับจะส่งผลให้เกิดภาวะ เสี่ยงได้ เช่น ลื่นหกล้ม อารมณ์หงุดหงิดคุณภาพการนอนลดน้อยลง อาจหลับยาก ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก เมื่อตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ทั้งนี้เกิดจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย หรืออาจเกิดจากภาวะ ซึมเศร้าความเครียด ความวิตกกังวล 5. ปัญหาการกลั้นอุจจาระและปัสสาวะเกิดจากสาเหตุหลาย ประการเช่นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน หรืออ่อนล้า ความบกพร่องของการควบคุมการกลั้นการ ขับถ่ายที่เกิดจากยาบางชนิด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท้องผูกต่อมลูกหมากโตในเพศชายและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3