การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

101 โรคเบาหวาน เป็นต้น 6. อาการมึนงง วิงเวียนศีรษะเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นสาเหตุ หนึ่งที่นำไปสู่การหกล้ม 7. ปัญหาภาวะการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป มีสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยลง เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน การกลืนลำบากเบื่ออาหาร ภาวะ ซึมเศร้า ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา คือ ภาวะกระดูกพรุนกล้ามเนื้อลีบ แขนขาอ่อนแรงการติด เชื่อ เป็นต้น 8. ปัญหาการได้ยิน ความสามารถในการรับเสียงลดลง มักมีอาการหูอื้อหรือหูตึง ระยะแรกจะรับเสียงที่มีความถี่สูงหรือเสียงแหลม ๆ ได้น้อย 9. ปัญหาการมองเห็นตาฝ่าฝาง นอกจากเกิดจากวัยที่สูงขึ้นแล้ว อาจเกิดจากโรคต่าง ๆได้เช่น โรคเบาหวานต้อหิน ต้อกระจก จอ ประสาทตาเสื่อม ทำให้การมองเห็นลดลง เป็นต้น ซึ่งในส่วนของทฤษฎีด้านสุขภาพ ทั้งภายในและ ภายนอกจะส่งผลต่อการสืบสวน สอบสวนคดีผู้ต้องหาที่สูงอายุในด้านของปัญหาสุขภาพที่ไม่ เหมือนกับคนหนุ่มสาวผู้ต้องหาทั่ว ๆ ไปที่จะได้รับการพิจารณาแบบปกติบ้างครั้งการเชิญไปทำแผน ประกอบคำรับสารภาพก็เป็นเรื่องที่ลำบากต่อผู้ต้องหากลุ่มนี้หรือแม้แต่การที่จะต้องเข้าไปอยู่ในสถานี ตำรวจระหว่างการสอบสวน 48 ชั่วโมงตามกฎหมายเมื่อถูกจับก่อนที่จะมีการฝากขังต่อไปนั้นเอง อุปสรรคเหล่านี้อาจเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่กฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองได้แม้จะเป็น ผู้ต้องหาก็ตาม 4.1.2 ทฤษฎีด้านจิตวิทยา และจิตวิทยาสังคมของผู้สูงอายุ นักชราภาพวิทยาสังคม ได้กล่าวถึงทฤษฎีจิตวิทยาสังคม ไว้ 5 ทฤษฎีด้วยกันซึ่งหากจะ กล่าวโดยสรุปแล้วทั้ง 5 ทฤษฎีนั้น กล่าวถึงบทบาทของผู้สูงอายุในสังคมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป จากวัยหนุ่มสาว ชอบแยกตัวออกจากสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมองว่าหากผู้สูงอายุได้ปฏิบัติเหมือน ตอนยังเป็นหนุ่มสาวอยู่นั้นออกไปเคลื่อนไหวร่างกาย พบปะผู้คนจะทำให้มีความสุขมากขึ้น และอีก ปัจจัยคือความหากหรือระยะห่างของช่วงอายุทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแตกต่างออกไปนั้นเอง ต่อมาในส่วน ของทฤษฎีจิตวิทยาซึ่งเป็นที่อยู่ภายในตัวผู้สูงอายุเองเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีบุคลิกภาพที่ เปลี่ยนไป ซึ่งประกอบด้วย 3 ทฤษฎี หลัก ๆ ด้วยกันกล่าวโดยสรุปแล้วผู้สูงอายุจะเป็นสุขหรือเป็น ทุกข์นั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิหลัง และพัฒนาการทางจิตใจของผู้นั้นโดยหากจิตใจเชื่อว่าชีวิตมีคุณค่า หรือมีความมั่นคงก็จะมีความพอใจกับชีวิต ซึ่งจากการที่ได้กล่าวไปแล้วในภาพรวมในสองหัวข้อหลัก ทั้งในทฤษฎีด้านสุขภาพ และทฤษฎีด้านจิตวิทยาแล้วนั้นก็จะเชื่อมโยงให้เห็นถึงสภาพปัญหาของ ผู้สูงอายุ เช่น สภาพทางดด้านร่างกาย สภาพทางด้านจิตใจ สภาพทางด้านสังคมความเป็นอยู่ และ สภาพทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยอันเป็นสิ่งเร้าที่เป็นองค์ประกอบให้ผู้สูงอายุกระทำความผิดขึ้น ได้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างคำว่าที่ผู้สูงอายุก็จะกลับไปเด็กอีกครั้งนั้นเอง นอกจากจะต้อง พิจารณาถึงทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้แล้วก็จะเป็นที่จะต้องมาแนวคิดทฤษฎีการกำหนดโทษ การลงโทษ หรือรวมไปถึงการป้องกันอาชญากรรมด้วย ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีในด้านของจิตวิทยาก็ อาจจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมทาอาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีอาจะจะมีปัญหาได้เพราะจาก หลักการข้างต้นได้พูดถึงการที่ผู้สูงอายุสอบมักอยู่คนเดียวไม่ชอบเข้าสังคมดังนั้นผู้ที่จะเข้าร่วมใน กระบวนการหลัก ๆ เลยนอกจากจะเป็นทนายความทั่ว ๆ ไป ในคดีปกติ ทนายที่รัฐจัดให้นั้นจะต้องมี ความรู้เกี่ยวกับคนสูงวัย และจะต้องเข้าใจความรู้สึกเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในด้านจิตวิทยาด้วยเพราะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3