การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
102 บุคคลเหล่านี้มักจะต้องเรียนรู้จากภาษากายซึ่งเป็นศาสตร์ชั้นสูงการแสดงท่าทางต่าง ๆ อาจจะ หมายถึงข้อเท็จที่จะนำไปสู่การพิจารณาคดีถึงความผิด หรือถูกได้ นอกจากทนายความแล้วก็ควรมี บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านของจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือที่ปรึกษาทางด้านผู้ต้องหาสูงอายุ โดยตรงนั้นเองจึงจะทำให้กระบวนการได้มาซึ่งพยานหลักฐานหรือทำให้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมาย เปรียบเทียบในปี 2561 ประเทศอังกฤษได้ตั้งรัฐมนตรีกำกับดูแลปัญหาความเหงาของ ประชาชนภายใต้การควบคุมของกระทรวงความเหงาซึ่งเมื่อผู้คนเมื่อทราบข่าวดังกล่าวอาจจะเกิดการ ตั้งข้อคำถามหรือเกิดเสียงหัวเราะแต่กลับกันในประเทศอังกฤษไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นเพราะปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ทุกคนกลับมองข้ามคิดว่าเป็นปัญหาส่วนบุคคลไม่ส่งผลกระทบต่อผู้คนหรือประเทศ ใน อังกฤษมีคนที่รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวกว่า 9 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน ในจำนวนนี้ ประมาณ 200,000 คน เป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้คุยกับเพื่อนและญาติมานานกว่า 1 เดือน โดยจาก การศึกษาพบว่าประเทศอังกฤษได้กล่าวถึงเหตุผลไว้ 3 ประการดังนี้ เหตุผลที่ 1 : คนเหงา/ความเหงา ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ความเหงาเปล่าเปลี่ยวเป็นความจริงอัน น่าเศร้าของชีวิตยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่ดูแลคนอื่น ผู้ที่สูญเสียคนรัก หรือผู้ที่ไม่มีใครให้ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์ เหตุผลที่ 2 : ความเหงาส่งผลต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ งานวิจัยของ Julianne Holt-Lunstad ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยาแห่ง มหาวิทยาลัยบริคัม ยังก์ คนนี้ยังระบุด้วยว่า ความเหงาระบาดได้ และที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบัน เรา กำลังเผชิญหน้ากับการระบาดของความเหงากันทั้งโลก เหตุผลที่ 3 : ความเหงาฆ่าคนได้ ง่ายกว่าบุหรี่เสียอีกความเหงาฆ่าคนได้จริง ๆ “ความ เหงาฆ่าคนได้ เพราะมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ความเหงาอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวนเสียอีก (Aamna Mohdin, 2018) ดังนั้นการยกกรณีตัวอย่างของประเทศอังกฤษก็เพื่อสนับแนวคิดทฤษฎีในส่วนของแนวคิด ทฤษฎีในทางด้านจิตวิทยากล่าวคือผู้สูงอายุมีความรู้สึกโดดเดี่ยว เปลี่ยวเหงา และความเหงาเป็นสิ่งที่ น่ากลัวอาจจะทำให้เป็นเหตุปัจจัยประการหนึ่งที่ส่งผลในการกระทำความผิดรวมไปถึงอันจะส่งผลต่อ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบันแน่นอนก็เพราะว่า ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีหลักการของการ สอบสวนก็เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงพยานหลักฐานที่สมบูรณ์เพื่อตัดสินความผิดหรือถูก โดยหากมอง ว่าในการกระทำความผิดของผู้สูงอายุส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการพฤติกรรมทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ เหตุผลที่คิดเช่นนี้ก็แม้แต่ทฤษฎีการก่ออาชญากรรมส่วนหนึ่งก็มาจากพันธุกรรม ความผิดปกติทางจิต หรือทางด้านอารมณ์นั้นเองซึ่งมักเกิดขึ้นได้ง่ายแก่ผู้สูงอายุมากกว่าบุคคลวัยหนุ่มสาวในประเด็นปัญหา ด้านสุขภาพดังนั้นกระบวนการยุติธรรมอาญาควรที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีในด้านร่างกาย ด้านจิตวิทยา นอกจากจะส่งผลให้ผู้สูงอายุ กระทำความผิดในลักษณะทั่วไปแล้ว อาจจะส่งผลในลักษณะของการกระทำความผิดออนไลน์ โดย แผนยุทธศาสตร์ชาติ กล่าวถึง ผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมจึง ควรเตรียมความพร้อมในทุกมิติ เช่น เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม รวมทั้ง ส่งเสริม การสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ สนับสนุนการจ้างงานของผู้สูงอายุตามความเหมาะสม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3