การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

103 เพื่อนำไปสู่สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันและเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ ทั้งนี้หากเราพิจารณาถึงข้อดีของ เทคโนโลยีที่นำมาพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุอาจแบ่งได้ 2 มิติ กล่าวคือ 1. เทคโนโลยีที่เป็นตัว ขับเคลื่อนทางสังคมในฐานะที่เป็นตัวกลาง คือ เป็นทั้งเครื่องมือและช่องทางในการติดต่อสื่อสาร กับ สมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม อีกทั้งยังช่วยสร้างความใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น 2. เทคโนโลยีเป็น เครื่องมือในการสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การค้นหาเนื้อเพลง การร่วมกลุ่มผ่านแอป พลิเคชันไลน์(Line application) แต่กลับกันเมื่อพิจารณาในมิติข้อเสียในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานของผู้สูงอายุ นั้นเป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการผลักดันให้เป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลังด้วยโดยพบว่าผู้สูงอายุ มีระดับการรู้เท่าทันสื่อในระดับปานกลาง เมื่อพบเห็นประเด็นของข่าวที่ถูกแชร์มาจากแหล่งที่ไม่ ถูกต้อง ปัญหาของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อผู้สูงอายุยังอยู่ในรูปแบบของการหลอกลวงหรือโฆษณาเกิน จริงซึ่งอาจจะเป็นในมิติของผู้เสียหายแต่อย่าลืมไปว่าอีกมิติหนึ่งเมื่อดูจากแนวคิดด้านสุขภาพ แนวคิด เรื่องเทคโนโลยีผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นก็จะส่งผลให้ผู้สูงอายุที่หลง ๆ ลืม ๆ กระทำผิดในรูปแบบของอาชญากรรมออนไลน์ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป 4.1.3 แนวคิดทฤษฎีทางด้านกฎหมายของผู้สูงอายุ ทฤษฎีการสอบสวนได้นำหลักการค้นหาความจริง และหลักเหตุผลมาใช้เป็นหลักแนวคิด ในการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อให้ได้ซึ่งพยานหลักฐานที่เป็นความจริง และถูกต้องอันจะ ทำให้เกิดความยุติธรรมจึงจะเห็นถึงความสำคัญของพยานหลักฐานหรือกระบวนการได้มาซึ่ง พยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งคำให้การของผู้ต้องหาก็ถือเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยโดยการได้มาต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยซึ่ง หากมองว่าผู้สูงอายุที่เป็นผู้ต้องหา ก็ควรมีวิธีการที่เหมาะสม โดยเมื่อพิจารณาแนวคิดทฤษฎีถึงการ กำหนด การลงโทษมองว่าการลงโทษต้องได้สัดส่วนกับการความผิดที่ได้กระทำ การลงโทษต้อง เหมาะสมต่อความร้ายแรงของความผิดที่ได้กระทำไม่ใช่มุ่งลงโทษแก้แค้นทดแทน การลงโทษต้อง รวดเร็วและต้องโปร่งใส ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าการกำหนดโทษหรือการลงโทษโดยการมุ่ง แก้แทนทดแทนคงไม่เกิดผลดีหนัก ในกระบวนการจับกุมสอบสวนหากเจ้าหน้าที่รัฐมองผู้ต้องหาที่ สูงอายุว่าเป็นบุคคลที่น่ากลัวหรือน่าเกลียดชัง และได้กระทำการอันทารุณกับผู้ต้องหาสูงอายุ คิดว่าไม่ เหมาะสม โดยควรมีวิธีการที่ยืดหยุ่น และสิทธิของผู้สูงอายุกำหนดไว้เฉพาะในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ และกำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ผู้วิจัยต้องการเสนอต่อไป เพิ่มขึ้นมาเป็นกฎหมายใหม่ขึ้น เมื่อจะต้อง ดำเนินคดีกับผู้สูงอายุก็จะมีกฎหมายนอกจากกระบวนการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ก็ จะได้นำกระบวนการที่กำหนดไว้เป็นขั้นตอน เพราะจากการที่กล่าวไปแล้วในทฤษฎีทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ที่ว่าผู้สูงอายุบางส่วนไม่ได้มีสันดานเป็นผู้ร้ายมาตั้งแต่ต้นบางครั้งก็ผิดพลาดจากการที่ ร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ต่อมาทฤษฎีอีกประการที่สำคัญคือทฤษฎีการก่ออาชญากรรมเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้คน ๆ หนึ่งกระทำความต่อผู้อื่นได้ก็พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 4 ทฤษฎีหลักกล่าวคือ 1. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรม มีที่มาจากทฤษฎีของสำนักคลาสสิกและสำนักโปซิตีพ 2. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมทางชีววิทยาบอก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3