การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

104 ว่า อาชญากรรมเกิดจากความผิดปกติทางกายภาพอันมีผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม 3. ทฤษฎีสาเหตุ อาชญากรรมทางจิตวิทยาอธิบายว่า อาชญากรรมเกิดขึ้นจากความผิดปกติทางอารมณ์ ทางจิตและ ทางบุคลิกภาพ และ4. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมทางสังคมวิทยาอธิบายว่า อาชญากรรมเกิดจาก อิทธิพลของสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าทั้ง 4 ทฤษฎีนั้นมีบางทฤษฎีที่สอดคล้องกับแนวคิดของผู้สูงอายุในด้านของ สุขภาพ และด้านจิตวิทยา ดังได้กล่าวไปแล้วว่าส่วนใหญ่ก็มาจากสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ รวมไปถึงทางด้านอารมณ์ความคิดในประเด็นของจิตวิทยานั้นเอง ซึ่งนอกจากผู้วิจัยจะกล่าวถึงการ กระทำผิดในลักษณะทั่วไปแล้วนั้น ยังมีการกระทำความผิดอีกประเภทคือการกระทำความผิดที่ เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันเพราะอย่าลืมไปว่าในขณะที่ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกมติหนึ่ง การพัฒนาประเทศหรือโลกที่มีความทันสมัยด้วยการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 4.2 กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีของประเทศไทย กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยมีผู้ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการอยู่ หลายฝ่ายด้วยกัน ได้แก่ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา พนักงานตำรวจ พนักงานอัยการ ศาลและรวมไปถึง เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ซึ่งบุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะเข้ามามีส่วนในการทำหน้าที่ให้กระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการซึ่งหากจะแบ่งออกเป็นชั้นก็สามารถแบ่ง ออกเป็น 3 ชั้นด้วยกันกล่าวคือ 1.ชั้นก่อนฟ้องคดี 2.ชั้นระหว่างการพิจารณาคดี และ3.ชั้นหลังจาก การตัดสินคดี ซึ่งทั้งสามส่วนนี้เรียกรวมกันเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่คอยช่วยเหลือหรือ แก้ปัญหาของสังคมให้เกิดความสมดุล และเกิดความสงบสุขไม่เกิดความขัดแย้งกันอีกทั้งเมื่อพิจารณา ถึงหลักการ และแนวคิดทฤษฎีในกระบวนวิธีพิจารณาความอาญามุ่งเน้นหลักการตรวจสอบค้นหา ความจริง วิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการคดีที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไข และนำไปสู่การใช้ ดุลพินิจของผู้พิพากษาในการกำหนดโทษกล่าวคือการพิพากษาลงโทษบุคคลต้องคำนึงถึงการลงโทษที่ เหมาะสมกับบุคคล บุคลิกภาพ เช่น อายุ เป็นต้น ซึ่งเป็นหัวใจหรือเป้าหมายของกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมนุษย์มาอยู่รวมตัวกันเป็นสังคมเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่จะต้องมีบุคคลที่มี ความเห็นต่างซึ่งหากความคิดที่เห็นต่างเป็นสิ่งที่เลวร้ายก็อาจจะส่งผลในการก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับ สังคมจึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเข้ามาแก้ไข และกฎหมายนั้นก็จะต้องมีความเหมาะสมในการ ลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละเรื่อง และตัวบุคคลตามฐานความผิด และอายุ หากจะมองการกระทำ ความผิดของเด็กและเยาวชนกฎหมายได้กำหนดโทษและวิธีการจับกุม การสอบสวนที่มีเฉพาะเด็ก และเยาวชน อันแสดงให้เห็นถึงการคำนึงถึงความเหมาะสมในการลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีอายุยัง น้อย ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยก็เล็งเห็นแล้วว่าเมื่อปัญหาผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุ 12 ล้านกว่าคน ก่ออาชญากรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมในปัจจุบัน ทั้งรายงานสถิติของจำนวนผู้สูงอายุแน่ชัด ว่าในอีกหลายปีข้างหน้าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และรายงานสถิติคดีที่มีผู้กระทำความผิด อายุ 60 ปีขึ้นไปที่เห็นได้ชัดว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการพยาบาล ด้านกา รคมนาคมหรือรวมไปถึงด้าน กระบวนการยุติธรรมที่ต้องออกแบบกระบวนการอันจะรองรับสำหรับผู้ต้องหาที่สุงอายุไม่ว่าจะเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3