การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

105 กรณีการช่วยเหลือผู้เสียหายที่สูงอายุหรือผู้ต้องหาที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะ ผู้ต้องหาที่จะต้องถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งตามกฎหมายของประเทศไทยนั้นได้กำหนดสิทธิของผู้ต้องหาไว้ไม่ ว่าจะเป็นกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาหรือกำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความก็ดีแต่เป็น การกำหนดไว้เป็นการทั่วไปใช้สำหรับผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิดทุกคนไม่แตกต่าง โดยมีขั้นตอนดังนี้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ระบบของกระบวนการยุติธรรมทางอาญามี 2 ระบบคือระบบไต่สวน และระบบกล่าวหา กล่าวคือ 1. ระบบไต่สวน เป็นระบบที่มีมาดังเดิมไม่มีการแยกหน้าที่สอบสวนฟ้องร้องกับหน้าที่พิจารณา พิพากษาออกจากกันโดยให้องค์กรเดียวกันทำหน้าที่เป็นผู้ทำหน้าที่ทั้งสองประการกรณีจึงมีแต่ผู้ไต่ สวนและผู้ถูกไต่สวนเท่านั้น 2. ระบบกล่าวหา เป็นระบบที่แยกหน้าที่แยกอำนาจสอบสวนฟ้องร้องและอำนาจหน้าที่ พิจารณาพิพากษาออกจากกัน ให้องค์กรที่ต่างหากจากกันคนละองค์กรเป็นผู้ทำหน้าที่และยกฐานะ ของผู้ถูกกล่าวหาขึ้นเป็น “ประธานในคดี” ระบบกล่าวหาจึงเป็นระบบการพิจารณาคดีสมัยใหม่เพราะ สอดรับกับมาตรฐานสากลในการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมภายใต้หลักการต่าง ๆ เช่น หลักนิติธรรม หลักสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งหลักสุดท้ายนี้เป็นหลักที่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพทั้งผู้เสียหายและผู้ต้องหาเป็นหลักที่ต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ให้มากที่สุดในการปฏิบัติกับ บุคคลคนหนึ่งนั้น ปัจจุบันจึงเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย อันสามารถนำไปสู่ “การลงโทษที่เหมาะสม กับบุคคล” ได้เป็นอย่างดีแต่ด้วยกาลเวลาเปลี่ยนไปสังคมเปลี่ยนสิ่งอำนวยความสะดวกเข้ามา เทคโนโลยีต่าง ๆ กฎหมายก็จำเป็นที่จะต้องพัฒนาต่อให้เหมาะสมกับปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญามีความสำคัญและเป็นหลักในการกำหนดทิศทางอันนำไปสู่ ระบบพิจารณาคดีอาญาที่ดีซึ่งมีหลักหลายประการโดยเฉพาะในส่วนของพนักงานสอบสวนโดยยึด หลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา การตรวจสอบค้นหาความจริงเป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาเพื่อพิสูจน์ความจริงแท้ในวัตถุแห่งคดีอาญาให้ปรากฏให้ได้ องค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทุกฝ่ายของภาครัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการร่วมกัน ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไทย โดยเฉพาะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหา โดยไม่ผูกมัดกับคำขอ หรือคำร้องของผู้ใดตามหลักการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 มาตรา 98 และมาตรา 138 พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหา เพื่อทราบ ความผิดหรือบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ในวัตถุแห่งคดีอาญาสองประการคือข้อเท็จจริงในการกระทำ ความผิดและข้อเท็จจริงของตัวผู้กระทำความผิด ระบบสอบสวนคดีอาญาไทยมีโครงสร้างอำนาจตามแนวคิดหลักแยกอำนาจสอบสวนออกจาก อำนาจฟ้องร้อง กล่าวคือเมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้นตำรวจมีอำนาจหน้าที่รับคำร้องทุกข์เริ่มต้นคดี สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ตรวจค้น จับกุม แจ้งข้อหาควบคุมและขอให้ศาลสั่งขังผู้ต้องหาไว้ ระหว่างการสอบสวน สำหรับคดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่ เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ไม่เกิน 30 วัน คดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกเกินสามปี แต่ไม่เกินสิบปีหรือปรับเกินหกหมื่นบาทขึ้นไปหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ไม่เกิน 48 วัน คดีความผิดอาญาที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3