การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
106 มี อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปจะมีโทษปรับด้วย หรือไม่ก็ตาม ได้ไม่เกิน 84 วัน แล้วแต่ กรณี สรุปสำนวนและทำความเห็นทางคดีจนแล้วเสร็จ จึงส่งสำนวนสอบสวนนั้นไปให้พนักงานอัยการ พิจารณาสำหรับพนักงานอัยการไทย แม้พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14(2) บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในคดีอาญาแต่เป็นเพียงการบัญญัติ รับรองอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ และมาตรา 16 มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติให้พนักงานอัยการมอำนาจหน้าที่สอบสวนเช่นเดียวกับ พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ตาม แต่พนักงานอัยการจะมีบทบาท อำนาจหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนเฉกเช่นตำรวจต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการม อำนาจ สอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเรื่อง เช่น การกำหนดให้ อัยการสูงสุด เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีความผิดนอกราชอาณาจักรตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 20 เป็นต้น กล่าวได้ว่าพนักงานอัยการไทยไม่มีอำนาจรับคำ ร้องทุกข์ สอบสวน คดีอาญาทั่วไป และไม่มีอำนาจบังคับบัญชาตำรวจและพนักงานสอบสวนในการ รวบรวมพยานหลักฐาน เฉกเช่นพนักงานอัยการในระบบโครงสร้างอำนาจตามแนวคิดอำนาจสอบสวน ฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน ด้วยเหตุนี้การดำเนินคดีอาญาของไทยจึงถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ขั้นตอนการดำเนินคดี ชั้นตำรวจ ขั้นตอนการดำเนินคดีชั้นอัยการและขั้นตอนการดำเนินคดีชั้นศาลซึ่ง ผู้วิจัยจะพิจารณาในชั้นก่อนฟ้องคดีดังนี้ 1.ขั้นตอนเริ่มต้นคดี เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้นและผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงาน สอบสวน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 127 และมาตรา 128).หรือเมื่อตำรวจจับกุม ผู้กระทำผิดซึ่งหน้านำตัวไปมอบให้พนักงานสอบสวนพร้อมกับร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ทำการ สอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนจะสอบปากคำ ผู้เสียหาย หรือผู้กล่าวโทษไว้ใน ฐานะ“ผู้กล่าวหา”เพื่อเริ่มต้นคดีส่วนผู้ถูกกล่าวหาจะถูกสอบสวนไว้ในฐานะ“ผู้ต้องหา”บุคคลอื่นที่รู้ เห็นเหตุการณ์พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนไว้ในฐานะ“พยาน”อันเป็นการเริ่มต้นคดีและ รวบรวมพยานหลักฐานอื่นต่อไปตามเนื้อหาพฤติการณ์แต่ละคดี 2. ขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายผู้เสียหาย หลังจากเริ่มต้นคดีแล้วพนักงานสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงแห่งคดีให้เห็นว่าผู้ต้องหามีผิดีหรือบริสุทธิ์ตามข้อกล่าวหาหรือฐานความผิดที่ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษไว้หรือไม่ เพียงใด 3. ขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาสอบสวนและควบคุมตัวผู้ต้องหา เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นแล้วเห็นว่าคดีมี“หลักฐานตาม สมควร”เพียงพอเชื่อได้ว่าผู้ต้องหาน่าจะกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาพนักงานสอบสวนจะติดตาม ตัวผู้ต้องหามาแจ้งข้อหาและสอบปากคำ ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสผู้ต้องหาให้การแก้ข้อกล่าวหานั้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134). ซึ่งเป็นไปตาม“หลักฟังความทุกฝ่าย”และ หากผู้ต้องหาถูกจับพนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ทำการแจ้งข้อหาและสอบสวน ปากคำไม่เกิน 48 ชั่วโมง โดยก่อนครบ 48 ชั่วโมง หากจำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อเพื่อทำการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3