การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
107 สอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวหรือพำตัวผู้ต้องหาไปขอให้ศาล สั่งขัง ผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวน สำหรับคดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ไม่เกิน 30 วัน คดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก เกิน สามปีแต่ไม่เกินสิบปีหรือปรับเกินหกหมื่นบาทขึ้นไปหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ไม่เกิน 48 วัน คดีความผิด อาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปจะมีโทษปรับด้วย หรือไม่ก็ตาม ได้ไม่เกิน 84 วัน แล้วแต่กรณี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87). ซึ่งเห็นว่าในส่วนนี้แหละหาก ผู้ต้องหาที่สูงอายุต้องเข้าสู่การฝากขังเพื่อให้อยู่ระหว่างการาสอบสวนคดีก็อาจจะส่งผล ในประเด็น ด้านสุขภาพหรือทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุได้จากการวิเคราะห์แนวคิดข้างต้นอันจะเป็นการละเมิด สิทธิเสรีภาพ 4. ขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายผู้ต้องหา เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาสอบปากคำผู้ต้องหา และปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวหรือนำ ตัวผู้ต้องหาไปขออำนาจศาลสั่งขังแล้ว หากปรากฏตามข้อต่อสู้หรือคำให้การผู้ต้ องหาว่ามี พยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน นั้นเข้าสำนวนให้สิ้นกระแสความเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาในกรณีผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ และเพื่อบริสุทธิ์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาในกรณีผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทยในชั้นก่อนฟ้องคดีก็จำเป็นที่จะต้องนำกฎหมาย ต่างประเทศที่ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ทั้ง 3 ประเทศได้แก่ 1. ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. ประเทศญี่ปุ่น และ3. ประเทศเยอรมนี ในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ต้องหาสูงอายุในชั้นก่อนฟ้องคดีในส่วนของ ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากระบวนการก่อนชั้นพิจารณาคดีของศาลนั้น ตำรวจจะต้องมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการของความชรารวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของประชากรและปัญหา เกี่ยวกับผู้สูงอายุเนื่องจากส่วนใหญ่แล้วตำรวจจะเป็นบุคคลแรกที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องใช้ ความรู้ทางจิตวิทยาการช่วยเหลือในเบื้องต้น และประเทศสหรัฐอเมริกามีการอบรมเพื่อให้ตำรวจมี ความเข้าใจในผู้สูงอายุ ในชั้นสอบสวน หากตำรวจเห็นว่าผู้สูงอายุที่กระทำความผิดมีลักษณะเข้าเงื่อนไขตามที่ กำหนดก็จะดำเนินตามข้อกำหนดนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ เช่น ตำรวจจะส่งผู้ต้องหาสูงอายุที่สงสัยว่ามี ปัญหาทางจิตไปยังศูนย์บำบัดทางจิตมากกว่าที่จะส่งไปคุมขัง ผู้ต้องหาสูงอายุที่ติดยาก็จะถูกส่งไปยัง กระบวนการของศาลยาเสพติด มากกว่าจะส่งไปยังการดำเนินคดีของศาลทั่วไป กรณีการกระทำ ความผิดที่เกี่ยวกับเงิน ก็จะให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินคืนแทนการดำเนินคดี ส่วนผู้สูงอายุที่กระทำ ความผิด เช่น ลักขโมยอาหารในร้าน ทำร้ายร่างกายผู้อื่น อาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมและบุคคล เหล่านี้ควรได้รับการช่วยเหลือมากกว่าการลงโทษ จึงมีการหันเหคดีของผู้กระทำผิดสูงอายุออกจาก กระบวนการยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่นกำหนดการกระทำที่เป็นความผิดเล็กน้อยตำรวจจะไม่นำมาสู่กระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา ในส่วนของการฟ้องคดีของพนักงานอัยการนั้น ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 248 กำหนดองค์ประกอบที่พนักงานอัยการจะต้องนำมาพิจารณาในการชะลอ การฟ้องได้ คือ บุคลิกลักษณะ อายุ และสภาพแวดล้อมของผู้กระทำความผิด ความร้ายแรงของการ กระทำ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายหลังการกระทำความผิด พนักงานอัยการสามารถใช้ดุลพินิจในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3