การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

108 ชะลอการฟ้องกรณีที่เป็นผู้ต้องหาสูงอายุ เพราะนโยบายทางอาญาในประเทศญี่ปุ่น ถือว่าผู้สูงอายุมี โอกาสที่จะไปกระทำผิดซ้ำได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับวัยอื่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของญี่ปุ่นนั้นกำหนดให้พนักงาน อัยการสามารถใช้ดุจพินิจในการชะลอฟ้องโดยมีหลักพิจารณาถึงบุคลิกภาพ อายุ ซึ่งเป็นประเด็นที่ ผู้วิจัยได้ศึกษาเมื่อวิเคราะห์กับหลักการชะลอฟ้องของประเทศไทยแล้วนั้นพบว่าไม่ได้กำหนดลักษณะ แบบแคบ ๆ ดังกล่าวไว้เลยกำหนดไว้เพียงแค่ต้องเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก เป็นความผิดที่ไม่ ร้ายแรง และอัตราโทษไม่เกิน 5 ปี ด้วยเหตุที่ประเทศญี่ปุ่นมีประชากรสูงอายุ ติดหนึ่งในสิบของโลก ญี่ปุ่นจึงคำนึงถึงการกระทำความผิดของบุคคลเหล่านี้ เมื่อย้อนกลับมาดูประเทศก็มีจำนวนผู้สูงอายุไม่ น้อยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดของประเทศ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศเยอรมนีได้วางหลักการต่อสู้คดีของผู้ถูก กล่าวหาไว้ โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมีความเข้าใจในการต่อสู้คดี ซึ่งคำนึงถึงความบกพร่องทางกายของ ผู้ต้องหา ดังนี้ มาตรา 136a กำหนดข้อห้ามในการสอบสวน ดังนี้ (1) เสรีภาพของผู้ต้องหาในการตัดสินใจและแสดงเจตจำนงจะต้องไม่ถูกลดทอนจากความ เจ็บป่วย ความเหนื่อยล้า การแทรกแซงทางร่างกาย การใช้ยา การทารุณ การหลอกลวงหรือการ สะกดจิต ส่วนการบังคับจะใช้ได้เท่าที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอนุญาตเท่านั้น นอกจากนี้ยัง ห้ามขู่เข็ญผู้ต้องหาด้วยมาตรการที่ไม่ได้รับอนุญาตภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายและการใช้โอกาส แสวงหาประโยชน์ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติไว้จะกระทำมิได้เช่นกัน (2) ไม่อนุญาตให้ใช้มาตรการที่ทำให้ความจำของผู้ต้องหาหรือความสามารถในการทำความ เข้าใจของผู้ต้องหาสูญเสียไป (3) ข้อห้ามภายใต้อนุมาตรา(1) และ(2) จะใช้บังคับโดยไม่ต้องคำนึงถึงความยินยอมของ ผู้ต้องหา ในขณะที่ข้อความที่ได้จากการฝ่าฝืนข้อห้ามนี้จะไม่ถูกนำมาใช้ แม้ว่าผู้ต้องหาจะยินยอมให้ ใช้ก็ตาม กรณีที่ผู้ต้องหามีความบกพร่องทางร่างกาย กฎหมายวางหลักปฏิบัติในการจัดหาทนายความ ไว้ในมาตรา 140(1) ดังนี้ จำเลยจะต้องมีทนายความในกรณีต่อไปนี้ 1. การพิจารณาคดีหลักในครั้งแรกที่ศาลสูงมลรัฐ (the Higher Regional Court) หรือที่ศาล มลรัฐ (the Regional Court) 2. ผู้ต้องหาถูกตั้งข้อหาความผิดอาญาร้ายแรง (serious criminal offence) 3. การดำเนินการอาจส่งผลให้มีการออกคำสั่งห้ามไม่ให้ประกอบอาชีพ 4. คำสั่งควบคุมตัวภายใต้มาตรา 112 หรือมาตรา 112a หรือการควบคุมตัวชั่วคราวภายใต้ มาตรา 126a หรือมาตรา 275a(6) ให้ใช้บังคับกับผู้ต้องหา 5. ผู้ต้องหาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือนตามคำสั่ งศาลหรือโดยความ เห็นชอบของผู้พิพากษา และจะไม่ได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาลนั้นอย่างน้อยสองสัปดาห์ ก่อนที่ ศาลจะเริ่มพิจารณาคดีหลัก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3