การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

109 6. การกระทำความผิดของผู้ต้องหาตามมาตรา 81 อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเตรียมให้ ความเห็นเกี่ยวกับสภาพจิตใจของผู้ต้องหา 7. กระบวนการพิจารณาเพื่อป้องกันการถูกควบคุมตัว 8. ทนายความคนก่อนถูกตัดออกจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีโดยคำตัดสินของศาล 9. ทนายความที่ได้รับมอบหมายให้เป็นทนายความฝ่ายจำเลยตามมาตรา 397a และมาตรา 406h (3) และ(4) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายภายในของประเทศเยอรมนีทั้งสองมาตรานั้นได้ กำหนดคุณลักษณะตัวผู้กระทำความผิดไว้เป็นการเฉพาะ เช่นในเรื่องกรณีความบกพร่องจะได้รับการ ปฏิบัติแตกต่างออกไปจากบุคคลทั่วไปที่กระทำความผิด โดนสรุปแล้วกฎหมายทั้งสามประเทศที่ผู้วิจัย ได้ทำการนำมาวิเคราะห์ทั้งหมดนั้นได้มีวิธีการสำหรับผู้สูงอายุที่กระทำความผิดเป็นกาเฉพาะเป็น ลักษณะการคุ้มครองในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาที่มีความชราภาพ อันจะเห็นถึงความ แตกต่างกับวิธีการปฏิบัติของกฎหมายภายในประเทศไทย เช่นกรณีในการสอบสวนผู้ต้องหาสูงอายุ ของประเทสสหรัฐอเมริกา พนักงานตำรวจจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการชรา และในเรื่องของ จิตวิทยาของผู้สูงอายุ ซึ่งในของประเทศไทยในการสอบสวนแม้จะมีการกำหนดสิทธิของผู้ต้องหาที่จะ มีทนายความ บุคคลที่ไว้ใจในการเข้ารับฟังการสอบสวนก็ดี แต่กระนั้นกฎหมายก็ไม่ได้นิยามไปถึงตัว เจ้าหน้าที่ในการที่จะต้องมีความรู้เรื่องในเรื่องผู้สูงอายุ เป็นต้น 4.3 สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาชั้นก่อนฟ้องคดีกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องหา สูงอายุ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นกระบวนการที่เข้ามาจัดระเบียบความเรียบร้อยภายในของ สังคมให้อยู่ด้วยกันในสังคมอย่างสงบสุขเนื่องจากการก่ออาชญากรรมนั้นเริ่มมีความรุนแรงและเพิ่ม จำนวนมากขึ้นทั้งกระจายไปสู่กลุ่มคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก เยาวชน วัยกลางคน หรือ รวมไปถึงกลุ่มคนชรา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่กำลังทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่เรียกกันว่าสังคมผู้สูงอายุหรือ สังคมสูงวัยดังนั้นในกลุ่มของบุคคลผู้สูงวัยนี้ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครจะเป็นคนดีหรือใครอาจจะคิด กระทำความชั่วขึ้นมาแต่รู้เป็นที่แน่ชัดว่าสังคมสูงวัยในประเทศไทยในปี พ.ศ.2565 ได้เข้าสู่อย่าง สมบูรณ์แบบและอีกประเด็นที่แน่ชัดว่าจากแนวคิดทฤษฎีที่ได้ศึกษามานั้นพบว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคล เป็นกลุ่มคนที่มีความเสื่อมถอยทั้งด้านร่างกายและสมองในการที่จะกระทำความผิดก็อาจะเกิดขึ้นได้ ง่ายในกระบวนการยับยั้งความคิดต่าง ๆ รวมไปถึงหากบุคคลเช่นว่านี้ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แล้วนั้นไซก็คงจะต้องมีวิธีการที่เหมาะสมสอดคล้องกับตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งผู้วิจัยก็มุ่งศึกษาในชั้น ก่อนฟ้องคดีโดยไม่ว่าจะเป็นในชั้นของการจับกุม และการสอบสวนคดีซึ่งถือเป็นกระบวนการแรกเริ่ม หรือเป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การได้มาซึ่งพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคลคือตัวผู้ต้องหาเอง หรือร่วมไปถึงคำให้การของ ผู้ต้องหาซึ่งตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยทางสมองทางร่างกายการที่จะสอบสวน สืบสวนผู้ต้องหาโดยไม่มีบุคคลใดเลยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การสอบสวนเด็กที่มีนักจิตวิทยา นักสังคม สงค์เคราะห์เข้ามาในกระบวนการด้วย ดังนั้นจึงต้องพิจารณากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3