การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
110 ก่อนฟ้องคดีในการปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุนั้นควรเป็นอย่างไรเมื่อพิจารณาประกอบกับแนวคิดทฤษฎี ต่าง ๆ เช่นแนวคิดการลงโทษ แนวคิดในการกำหนดโทษ แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ แนวคิด ในการก่ออาชญากรรม รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เข้ามาคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้สูงอายุที่ได้ บัญญัติรองรับเอาไว้ทั้งได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดรวมถึงยังไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังจะได้วิเคราะห์ในหัวข้อนี้ต่อไป 4.3.1 สิทธิของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ชั้นจับกุม (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83, 84) 1 บริเวณที่ถูกจับ (1) ผู้จับแจ้งผู้ถูกจับว่า “เขาต้อง ถูกจับ” และ “ถูกนำตัวไปที่ทำการของพนักงาน สอบสวนพร้อมด้วย ผู้จับ”ตามมาตรา 83 วรรคแรก (2) แจ้งข้อกล่าวหา “มีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้ การก็ได้ และ ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็น พยานหลักฐานในการพิจารณา คดีได้” และ “ผู้ถูกจับ มีสิทธิที่ จะพบและปรึกษาทนายความหรือ ผู้ซึ่งจะเป็นทนายความตามมาตรา 83 วรรคสอง 2 ก่อนส่งตัวให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (มาตรา 84) 1. จะต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการพนักงานสอบสวนโดยทันที 2.ต้องดำเนินการตาม ข้อ 1 ข้อ (1) (2) อีกครั้ง (กระทำเป็น ครั้งที่สอง) 3. มอบสำเนาบันทึกการจับกุมให้ ผู้ถูกจับ ตาม มาตรา 84 วรรคหนึ่ง (1) 4.กรณีราษฎรจับพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจผู้รับมอบตัว ผู้ถูกจับมี หน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ ถึง “ข้อกล่าวและรายละเอียดแห่งการจับ” ผู้ถูกจับ “มีสิทธิที่จะไม่ให้การ หรือให้การ ก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ได้” ตาม มาตรา 83 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งในการจับกุมเด็กและเยาวชนก็จะมีวิธีการที่แตกต่างออกไปโดยเฉพาะ เช่นข้อห้ามมิให้ รับฟังถ้อยคำใดๆของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมตามมาตรา 69 วรรคสี่ มีข้อยกเว้นเพียงยอมให้ศาล นำมารับฟังเป็นคุณแก่เด็กหรือเยาวชนได้ถ้อยคำที่ว่า “รับฟังเป็นคุณแก่เด็กหรือเยาวชนนั้น” หมายความว่า ศาลอาจนำมารับฟังเป็นคุณในแง่ที่จะพิสูจน์ความผิด หรือในแง่ที่จะนำมารับฟังเป็น คุณเพื่อประกอบดุลยพินิจกำหนดโทษแก่เด็กหรือเยาวชนนั้นย่อมกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 69 วรรคสี่นี้ ส่วนการจับกุมและควบคุมเด็กหรือเยาวชนต้องกระทำโดยละมุนละม่อม โดยคำนึงถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน และห้ามมิให้ใช้วิธีการควบคุมเกิน กว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น รวมทั้งมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็กไม่ว่ากรณีใด ๆ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งอันมิอาจหลีกเลี่ยง ได้เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น ในชั้นจับกุมเด็กหรือเยาวชน กฎหมายห้ามมิให้ถามคำให้การผู้ถูกจับ และมิให้ศาลรับฟัง ถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมหรือเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิด ซึ่งต่างจากการจับกุมผู้ใหญ่ ที่ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ถ้อยคำให้การแต่อย่างใด โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3