การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
111 มาตรา 84(2) ให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็น พยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม เมื่อนำมาพิจารณาควบคู่กับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ระหว่างบุคคลทั่วไปซึ่ง หมายความรวมถึงผู้ต้องหาสูงอายุด้วย โดยการสรุปแล้วจะได้ว่ากาจับกุมเด็กและเยาวชนที่ผู้วิจัยหยิบ ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างมีข้อความหลายประการเช่น การห้ามรับฟังคำให้การ ห้ามถามคำให้การเด็กและ เยาวชน โดยการจับกุมเด็กนั้นต้องกระทำโดยละมุนละม่อมซึ่งเหมาะสมกับอายุ สภาพร่างกาย ที่ กฎหมายมุ่งคุ้มครองสิทธิ ซึ่งกลับกันในกรณีผู้ต้องหาที่สูงอายุนั้นไม่ได้มีกฎหมายกำหดไว้เป็นก าร เฉพาะเช่นเดียวกับเด็กและเยาวชน 4.3.2 สิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน สิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของ ประเทศไทยนั้นคือ 1. ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา ว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ ซึ่งถูกกำหนดไว้มาตรา 134 วรรคแรก 2. ผู้ต้องหา มีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรมกำหนดไว้มาตรา 134 วรรคสามใน สวนของข้อสองนี้ก็ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศ 3. ผู้ต้องหามีโอกาสที่จะแก้ ข้อหา และที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 134 วรรคสี่ 4. ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะมีทนายความในชั้นสอบสวนอยู่ในมาตรา 134/1) 5. ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่ เกินสิบแปดปีในการถามปากคำให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็น สัดส่วนในสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับเด็กต้องมีสหวิชาชีพ ( นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์) บุคคลที่เด็กร้องขอ พนักงาน อัยการ และทนายความ ร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กซึ่งเป็นผู้ต้องหากำหนดไว้ในมาตรา 133 ทวิ, 134/2 6.ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้ วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้กำหนด ไว้ในมาตรา 134/3, 134/4 วรรคหนึ่ง (2) 7. ในการถามคำให้การผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนนั้น ผู้ต้องหามีสิทธิ ที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหา ให้การถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็น พยานหลักฐานในการ พิจารณาคดีได้ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง (1) 4.3.3 กระบวนการระหว่างการฝากขังผู้ต้องหา ในระหว่างที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกดำเนินคดีอาญา ไม่ว่าจะอยู่ในชั้นสอบสวน ชั้น พิจารณาคดีของพนักงานอัยการ หรือชั้นพิจารณาคดีที่ศาล คำถามคือผู้ต้องหาหรือจำเลยควรจะต้อง ถูกขังหรือควรจะได้รับอิสรภาพระหว่างการดำนินคดีอาญาคำตอบคือการดำเนินคดีอาญากับการขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ระหว่างดำเนินคดีไม่ได้อยู่บนหลักการเดียวกัน การดำเนินคดีอาญามี วัตถุประสงค์เพื่อรักษาประโยชน์ของสังคม คือการค้นหาความจริง หากพบการกระทำความผิด ก็จะ ลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเหมาะสม หากพบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ก็จะปล่อยตัวคืนความบริสุทธิ์ให้เขา ส่วนการจะขังหรือปล่อยตัวผู้ถูกดำเนินคดีอาญาอยู่บนหลักการอีกเรื่องหนึ่ง คือการพิจารณาว่าผู้ถูก ดำเนินคดีจะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายให้กับผู้อื่นหรือสังคมหรือไม่ ถ้า ใช่ ก็ควรขัง ถ้าไม่ใช่ ก็ควรปล่อย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3