การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
112 แม้การขังผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างสอบสวนกับระหว่างพิจารณาคดีอาญาสามารถ กระทำได้โดยเหตุต่าง ๆ หลายเหตุซึ่งโดยหลักแล้วก็ไม่ได้ขัดกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ แต่ การขังระหว่างดำเนินคดีอาญาจะนำมาใช้เพียงชั่วคราว และจะนำมาใช้เป็นมาตรการสุดท้าย (last resort) กล่าวคือ หากมีมาตรการอื่นที่ป้องกันมิให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนี ยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายได้แล้ว ศาลควรใช้มาตรการอื่นก่อน กระบวนการออกหมายขังในศาลไทย พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องไปที่ศาลโดยตรง โดย อัยการไม่ทราบเรื่องเลย แม้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะมีทนายความ แต่ก็สามารถปฏิเสธไม่ขอทนายความก็ ได้ ทั้ง ๆ ที่ในฝรั่งเศส การจะขังผู้ต้องหาสักคนเป็นเรื่องใหญ่ที่พรากเสรีภาพของเขาก่อนมีคำพิพากษา ผู้ต้องหาต้องมีทนายความช่วยเหลือในกระบวนการพิจารณาออกหมายขังเสมอ และจะต้อง เปิดการ พิจารณารับฟังความสองฝ่ายจากอัยการและจากผู้ต้องหา นอกจากนี้ การร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโดย การประกันตัวที่ใดยังใช้เกณฑ์การให้ประกันตัวโดยต้องมีหลักประกันมาวาง เช่น เงินสด ที่ดิน สมุด บัญชีเงินฝาก หรือบุคคลมาเป็นประกัน ยิ่งเป็นการสร้างความไม่เสมอภาคในสิทธิที่จะได้รับอิสรภาพ คนมีเงินหรือมีทรัพย์สินก็จะวางหลักประกันและได้รับอิสรภาพ ส่วนคนไม่มีเงินหรือไม่มีทรัพย์สินก็จะ ถูกขัง ซึ่งหากยึดหลักเรื่องการขังเป็นมาตรการสุดท้าย ปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคดังกล่าวน่าจะ หมดไป เมื่อพิจารณาถึงการฝากขังผู้ต้องหาเป็นกระบวนส่วนหนึ่งระหว่างการสอบสวนกับ กระบวนการสั่งฟ้องของพนักงานงานอัยการเพราะเมื่อครบกำหนด 48 ชั่วโมงในการควบคุมตัวของ พนักงานสอบสวนหากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นพนักงานสอบสวนก็จะต้องดำเนินการขอฝากขัง ผู้ต้องหารายนั้นเพื่อให้การสอบสวนดำเนินการต่อไป ผู้ต้องหาก็จะต้องเข้าไปสู่เรือนจำสูงสุด 84 วัน ขึ้นอยู่กับอัตราโทษที่กระทำความผิด โดยหากผู้ต้องหารายนั้นเป็นผู้สูงอายุการเข้าไปอยู่ในเรือนจำ อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย หรือจิตใจที่ย้ำแย่ลงไปยิ่งกว่าเดิมหากในท้ายที่สุดพบว่าผู้สูงอายุ นั้นไม่มีความผิดแต่สิทธิและเสรีภาพได้ถูกละเมิดแล้ว เมื่อพิจารณากับการจับกุมเด็กจะต้องมีการ ตรวจสอบการจับให้แล้วเร็วภายใน 24 ชั่วโมง และหากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายใน ระยะเวลาดังกล่าวได้ภายหลังการจับกุมก็จะต้องส่งตัวเด็กนั้นไปยังสถานพินิจหรือสถานที่ ที่เหมาะสม กับเด็กด้วยการคำนึงถึงจิตใจของเด็กและเยาวชนที่อาจจะทำให้เกิดความเครียดได้ ตามที่ได้วิเคราะห์กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในภาพรวมไปแล้วในหัวข้อที่ 4. 2 และ หัวข้อที่ 4.3 สิทธิในกระบวนการยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีทั้งสาม ส่วนประกอบการวิเคราะห์กับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนนั้น ซึ่งเมื่อกล่าวถึงกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีก็จะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลัก ๆ สองขั้นตอนกล่าวคือ 1.ขั้นตอนการ จับกุม และ2.ขั้นตอนการสอบสวนสืบสวนคดี ซึ่งหากกล่าวถึงการดำเนินคดีอาญาต่อผู้สูงอายุที่กระทำ ความผิด ทำให้ผู้วิจัยต้องพูดถึงกระบวนการยุติธรรมการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนใน กรณีกระทำความผิดอาญาขึ้นมาด้วยประกอบการวิเคราะห์ในฐานะที่กฎหมายให้การคุ้มครองเด็กและ เยาวชนเป็นกรณีพิเศษด้วยอายุ สภาพทางร่างกาย และจิตใจโดยในกรณีที่เด็กและเยาวชนกระทำ ความผิดทางอาญานั้นกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องมีกระบวนการโดยเฉพาะในกระบวนการสอบสวน สืบสวนคดีเด็กและเยาวชน กฎหมายกำหนดให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ในการเข้า ฟังการสอบสวนด้วยเหตุผล แนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวถึงลักษณะของเด็กและเยาวชนที่ว่ามีความคิดที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3