การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

113 ยังอ่อนต่อโลก วิธีการตัดสินใจ และเด็กและเยาวชนเป็นบุคคลที่มีอายุน้อย มีโอกาสในการปรับตัว เมื่อเกิดการกระทำความผิด กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้นเมื่อ พิจารณาถึงแนวคิดและทฤษฎีของผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยได้ศึกษา ผู้สูงอายุก็เปรียบเสมือนเด็กในบางกรณี บางลักษณะ กระบวนการทางสมองการประมวลผลต่าง ๆ ที่ช้าลง ทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ประกอบกับการมีโรคประจำตัวอันจะส่งส่งผลให้การตัดสินหรือเกิดการกระทำความผิดในท้ายที่สุด โดยตามทฤษฎีสภาพไร้บรรทัดฐาน ของรอสโซ (Rosow) ได้กล่าวไว้ว่าโดยทฤษฎีความ กดดันเป็นพื้นฐานในการจำแนกมิติของผู้สูงอายุจำนวนมากที่นำมาสู่สภาวะไร้บรรทัดฐาน มติแรกที่ เกษียณอายุ ขาดคู่สมรส สุขภาพไม่ดี หรือรายได้ลดลงในขณะที่ประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือพิจารณามิติที่สองกล่าวถึงการขาดการเตรียมตัวในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะต้องอาศัยอยู่ใน ชุมชน และมิติที่สามเป็นประเด็นสำคัญคือมิติความรู้สึกทางด้านจิตใจในการที่มีพลังลดน้อยลง ความรู้สึกว่าไม่มีคุณค่าในสังคมอีกทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้สูงอายุนั้นอาจะเกิดได้ จากหลายสาเหตุ เช่นผู้สูงอายุที่ลักขโมยเพราะความหิวโหย การทำร้ายร่างกายเกิดจากการทะเลาะ เบาะแว้งที่ไม่รุนแรงหรือเกิดจากสุขภาพจิตนอกจากนี้ผู้สูงอายุบางคนอาจจะกลับมากระทำความผิด ซ้ำ เพียงเพื่อตนเองจะได้กลับไปอยู่ในเรือนจำซึ่งเป็นที่ที่ตนเองรู้สึกปลอดภัยมีอาหารให้รับประทาน และมีเพื่อนร่วมเรือนจำ สิ่งที่ผู้วิจัยได้กล่าวข้างต้นผู้วิจัยไม่ได้มีเจตนาที่ประสงค์ให้ผู้ต้องหาสูงอายุไม่ต้องเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม ในการพิจารณาคดี การรับโทษเป็นต้น แต่ในกรณีที่จะต้องปฏิบัติกับบุคคล เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมการสอบสวนหรือจนจบกระบวนการจนเข้าไปอยู่ในเรือนจำก็ตาม ควร จะต้องมีกระบวนการโดยเฉพาะหรือแนวปฏิบัติที่รองรับเมื่อมีการกระทำความผิดของผู้สูงอายุเกิดขึ้น กระบวนการจับกุมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การสอบสวนที่จะต้องมีบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของ ผู้สูงอายุเข้าร่วมการสอบสวน อันจะต้องคำนึงหลักของสิทธิมนุษยชนในเรื่องของสิทธิของผู้ต้องหาเข้า มาพิจารณาควบคู่กันไป ซึ่งมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้สอดคล้องกับปัญหาด้านร่างกาย และสุขภาพของผู้สูงอายุนั้นในการจับกุม หรือสอบสวนผู้ต้องหาสูงอายุเจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ หากมีการจับโดยใช้พละกำลังหรือรวมไปถึงการสอบสวนในข้อคำถามที่มี ความซับซ้อนจะต้องแยกการสอบสวนเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยตอบคำถามผ่านนักจิตวิทยา นัก สังคมสงเคราะห์ และหากเป็นคำถามที่มีความรุนแรงก็มีสิทธิที่จะไม่ตอบได้ และสุดท้ายหากเป็น ความผิดเล็กน้อยหรือเป็นความผิดเกี่ยวค่าชดเชยก็ให้เบี่ยงเบนคดีให้รับผิดเป็นการเฉพาะเรื่องไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงกระบวนการยุติธรรมในชั้นก่อนฟ้องคดีของประเทศไทย และรวม ไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลักกล่าวคือพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา และ คำสั่งสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา จากการศึกษากฎหมายดังกล่าวผู้วิจัย จะแยกประเด็นวิเคราะห์ซึ่งอยู่ในบทที่ 2 แห่งคำสั่งนี้ในส่วนของประเด็นการจับ การควบคุม และการ สอบสวนตามลำดับซึ่งจะพิจารณาเปรียบกับการดำเนินต่อเด็กและเยาวชน พบว่านอกเหนือจากสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว เจ้าพนักงาน ตำรวจก็จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งข้างต้นซึ่งกำหนดการจับไว้ว่าเป็นการกระทำต่ออิสรภาพเจ้าพนักงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3