การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

114 ควรระมัดระวังซึ่งเป็นหลักทั่วไปที่ควรพึ่งกระทำอยู่แล้วแต่ในส่วนของการจับได้กล่าวถึงการปฏิบัติต่อ เด็กและเยาวชนโดยให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาความ คดีเยาวชนและครอบครัวเป็นการเฉพาะกลับกันกฎหมายไม่ได้กำหนดถึงกรณีผู้ต้องหาที่สูงอายุ กฎหมายไม่ได้กำหนดประเด็นผู้สูงอายุไว้เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากจะต้องอาศัยกฎหมาย ที่มีอยู่เห็นควรปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมใน คดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา ในส่วนของการควบคุมโดยรวมกล่าวถึงสิทธิทั่วไปเช่นกัน ไม่ต่างจากระบวนการของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา สิทธิที่จะมีทนายความเป็นการเฉพาะตัวหรือเข้าฟังในการสอบสวนบุคคลที่ ตนไว้ใจได้ หรือสามารถติดต่อกับญาติตามสมควรโดยในส่วนนี้ก็ไม่มีการกำหนดวิธีการปฏิบัติต่อเด็ก และเยาวชนไว้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นในหัวข้อต่าง ๆ บุคคลซึ่งเป็น ทนายความกฎหมายควรกำหนดให้มีความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุเพราะเป็นบุคคลที่รัฐให้มีบทบาทมากใน หลักการคุมครองสิทธิ โดยได้กำหนดหลักการไว้ทั้งหมด 12 ข้อด้วยกัน โดยแยกพิจารณาวิเคราะห์ประการแรก ว่าด้วยการสอบปากคำตามข้อที่ 6.7 ว่าด้วยการสอบปากคำเด็กและเยาวชนกำหนดให้พนักงาน สอบสวนทำการสอบสวนเป็นสัดส่วนแยกออกไปในสถานที่ที่เหมาะสมกับเด็ก และจัดให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ หากคำถามที่ถามมีความรุนแรงให้ตอบคำถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามและห้ามถามซ้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยผู้ต้องหาสูงอายุควรได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ด้วยซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางเมื่อพิจารณาจากปัญหา ต่าง ๆ แล้วนั้น ต่อมาประการที่สองการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยคำสั่งดังกล่าวนี้กำหนด เลยว่าไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามห้ามมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีไปชี้ที่เกิดเหตุเหตุผล เพราะกลัวว่าจะเป็นการประจานเด็ก และอาจเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับเด็กดังนั้น ผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกันด้วยวัยที่สูงขึ้น จิตใจเปราะบางก็จะได้รับผลกระทบตรงนี้เช่นเดียวกันอาจจะทำ ให้รูปคดีเสียไป ซึ่งเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ และกระบวนการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนตามกฎหมายที่ใช้ บังคับต่อเด็กและเยาวชนอันจะมีผลแตกต่างกัน คล้ายคลึงกัน ระหว่างเด็กและเยาวชนกับผู้สูงอายุ มากน้อยเพียงใดหากจะพิจารณาจุดกึ่งกลางที่มีความสัมพันธ์กันในลักษะของอายุ สภาพร่างกาย และ จิตใจ ทั้งภายใน และภายนอก การดำเนินการและการปฏิบัติทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก มีที่มาจากหลักการ สำคัญ หลักการแรกคือ หลักการตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้การรับรองว่า “เด็กมีสิทธิ ที่จะได้รับการดูแลและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กพัฒนาบุคลิกภาพได้อย่างกลมกลืนและ เต็มที่ เด็กควรเติบโตในสิ่งแวดล้อมของครอบครัวในบรรยากาศแห่งความผาสุก ความรักและความ เข้าใจ” หลักการที่สองคือ หลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักประโยชน์ สูงสุดของเด็ก ตามข้อ 3 (1) “การกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะโดย สถาบันสังคมสงเคราะห์ ของรัฐหรือเอกชน ศาล ยุติธรรม หน่วยงานฝ่ายบริหารหรือองค์กรนิติบัญญัติ จะต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นลำดับ แรก” เป็นหลักที่ให้ความคุ้มครองประโยชน์สูงสุดใน ทุกเรื่องที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3