การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสภาพทางสังคมอันนำไปสู่สังคม ผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต่างตระหนัก และให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้นของจำนวน ผู้สูงอายุนอกจากจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร อีกทั้งจะส่งผลกระทบทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่น ๆ รวมทั้งด้านกฎหมายในประเด็นของการกระทำความผิดและเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม และในเวลาเดียวกันนอกจากการที่ประเทศได้พบเจอปัญหาการเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุสิ่งที่พัฒนาหรือเดินคู่ขนานไปด้วยคือเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเหมือนอวัยวะขอ ง ร่างกายซึ่งอาจจะมีทั้งผลดี และผลเสียสิ่งที่จะต้องคำนึงจากการเปลี่ยนแปลงนี้นอกจากจะพิจารณา การก่ออาชญากรรมหรือการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทั่วไปแล้วก็จำเป็นที่จะต้อง พิจารณาถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยีควบคู่ไปด้วยเพราะผู้สูงอายุอาจจะหลงผิดส่งผลให้ไปก่อการ กระทำความผิดในลักษณะนั้นได้ ด้วยอายุ และสภาวะทางสมอง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ผู้สูงอายุ และการเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบันอาจจะทำให้มีโอกาสที่ผู้สูงอายุจะเข้าไป เป็นผู้ต้องหาเพิ่มมากขึ้นทั้งในความผิดทั่วไป และความผิดในโลกเทคโนโลยี(นันทิดา ศิริธนานุกูลวงศ์, 2564) โดยในเวลานี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รัฐบาลมีความ พยายามจัดการให้ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่อย่างมีคุณภาพผ่านรัฐนโยบาย และกฎหมายอย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังมีผู้สูงอายุในอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเมื่อพิจารณาจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะในชั้นก่อนฟ้องคดีแล้วพบว่ายังขาดบทบัญญัติในการเข้ามาดูแลสวัสดิภาพ สิทธิและ เสรีภาพผู้ต้องหาสูงอายุซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมทาง อาญาของประเทศไทยก็ได้มีพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบ และเนื้อหาใน กระบวนการตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นศาล ตลอดจนชั้นราชทัณฑ์มีกฎหมายหลายฉบับสำหรับคุ้มครอง สวัสดิภาพของเด็ก สตรีและผู้เจ็บป่วย แต่สำหรับผู้สูงอายุซึ่งกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย กลับไม่ได้มีกฎหมายหรือแนวคิดในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอย่างเป็นรูปธรรม(พิทักษ์ ศศิสุวรรณ , 2561) ซึ่งในขณะที่มีจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตข้างหน้านั้นกลุ่มผู้สูงอายุ จะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ภายในประเทศไทยพร้อมกับการเป็นโลกที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี แต่กลับกัน การเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุนั้นยังมีไม่เพียงพอซึ่งโดยตามธรรมชาติแล้วนั้น ศักยภาพทางร่างกายของผู้สูงอายุที่เสื่อมถอยลงเป็นเหตุทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับ คนในวัยอื่น ๆ ได้ดีนักซึ่งส่งผลต่อด้านสภาวะจิตใจทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะเครียด ผลักดันผู้สูงวัยให้ เข้าสู่โลกโซเชียลมากขึ้นซึ่งอาจจะนำไปสู่การก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นเช่นกัน(พิชญา นิน ปัญญามาก,2561) เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นประชากรซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือเป็น แหล่งความรู้ ความชำนาญที่มีคุณค่า เป็นผู้ทรงไว้ซึ้งประเพณี วัฒนธรรม และเป็นสายใยแห่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3