การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
115 เกี่ยวกับเด็ก นับเป็นหลักการสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงในการปฏิบัติต่อเด็กทุกขั้นตอนของ กระบวนการ ยุติธรรมและการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สำหรับกฎหมายไทย แม้จะไม่ได้นิยามศัพท์ที่ว่า"การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน" หมายความว่าอย่างไรแต่เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธี พิจารณาคดีเยาชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 11 ซึ่งบัญญัติไว้ว่าศาลเยาวชนและครอบครัวมี อำนาจพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีต่อไปนี้ (1) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด (2) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา 61 วรรคแรก ฯลฯ (3) คดีที่ศาลจะต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลครอบครัว จากบทมาตราดังกล่าวจึงพอสรุปได้ว่า การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนนั้น หมายถึงการกระทำความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่มี โทษทาง อาญา และการกระทำความผิดต่อกฎหมายอื่น ๆ โดยเป็นการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม หรือคนส่วนใหญ่อันเป็นสาธารณชน ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัวจะ พิพากษาหรือมีคำสั่ง เมื่อศาลจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดี โดยที่ศาลจะต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของ จำเลย ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นฟูและแก้ไขปรับปรุงให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีของ ชาติได้ ดังนั้น ศาลจึงต้องพิจารณาปัจจัย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยเป็นรายบุคคลไม่ว่าในคดีนั้น เด็กหรือเยาวชนจะได้กระทำผิดร่วมกันก็ตามและเมื่อเด็กหรือเยาวชนกระทำผิดตามที่ฟ้องศาลอาจ เลือกที่จะใช้มาตรการดังต่อไปนี้ก็ได้ 1) ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแทนการลงโทษดังต่อไปนี้ 1.1 เปลี่ยนโทษจำคุก หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญาคือ กักกันไปเป็นการกักและอบรมในสถานพินิจ แต่ในทางปฏิบัตินั้นสถานพินิจได้ยกเลิกสถานกักและอุบ รมไปแล้วศาลจึงมิได้ใช้วิธีการนี้ 1.2 เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจตามระยะเวลาที่ ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นจะมีอายุครบ 24 ปี 1.3 เปลี่ยนโทษปรับเป็นคุมประพฤติ โดยกำหนดเงื่อนไขเช่นเดียวกับกรณีที่มิได้กระทำ ผิดข้อเดียวหรือหลายข้อด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยศาลจะต้องกำหนดระยะเวลาไว้แต่ห้ามเกินเวลาที่เด็ก หรือเยาวชนนั้นจะมีอายุครบ 24 ปี 2) ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งแบ่งแยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 2.1 จำกัดอิสรภาพ ได้แก่ การส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม ของสถานพินิจตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นจะมี อายุครบ 24 ปี 2.2 ไม่จำกัดอิสรภาพได้แก่การว่ากล่าวตักเตือนการมอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้ผู้ปกครอง ดูแล และวางข้อกำหนดผู้ปกครองกุมประพฤติมอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้บุคคลหรือองค์กรอื่นดูแล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3