การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

116 อบรมสั่งสอนการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาแม้ว่าเด็กหรือ เยาวชนจะเคยต้องโทษจำคุกหรือโทษอื่นตามคำพิพากษามาก่อนแล้วหรือโทษที่จะลงเป็นโทษอย่าง อื่นนอกเหนือจากโทษจำคุก หรือศาลได้กำหนดโทษจำคุกเกินกว่า 2 ปี ก็ตาม (ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์, 2547) จากการวิเคราะห์ถึงสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และรวมไปถึงในการผาก ขังผู้ต้องหาที่กระทำความผิดภายใต้กฎหมายหลักกล่าวคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำ สำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา ประกอบกับการ พิจารณาการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดจึงสามารถสรุปการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา ได้ตามตารางดังนี้ ตารางเปรียบถึงสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี ตารางที่ 1 ตารางเปรียบถึงสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี ที่ สิทธิ เด็กและ เยาวชน บุคคล ทั่วไป ผู้สูงอายุ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 สิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือ ผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาส แรก (ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1) ✓ ✓ ✓ 2 สิทธิที่จะพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง ✓ ✓ ✓ 3 สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติตามสมควร ✓ ✓ ✓ 4 สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ✓ ✓ ✓ 5 สิทธิได้รับการแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้จับว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิ ตามข้อ 1 ถึง 4 ✓ ✓ ✓ 6 สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนโดยเร็ว และได้รับทราบการแจ้งสิทธิต่าง ๆ จากพนักงานสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา 134) ✓ ✓ ✓ 7 สิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของ ผู้ต้องหา (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/3) ✓ ✓ ✓ 8 สิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4) ✓ ✓ ✓ 9 สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับขู่เข็ญ ล่อลวง ให้สัญญาเพื่อให้การ (ป.วิ.อาญา มาตรา 135) ✓ ✓ ✓ 10 สิทธิของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนที่จะได้รับการสอบสวนคดีบาง ประเภทโดยมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการและ ✓

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3