การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
119 เมื่อพิจารณาสิทธิตามตารางที่ได้ยกเปรียบเทียบนั้นพบว่าในกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญานั้นเป็นสิทธิที่บุคคลทุกคนได้รับแต่จะมีสิทธิบางกรณีที่เด็กและเยาวชนได้รับการดำเนินคดีเป็น พิเศษนอกเหนือจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งในส่วนนี้ในกรณีผู้สูงอายุก็ไม่ได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะโดยบังคับใช้ เช่นเดียวกับบุคลทั่วไป ต่อมาในส่วนของคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการสอบสวนก็ได้ กำหนดไว้ถึงการดำเนินคดีสำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไปเป็นเรื่อง ๆ ไปแต่ก็เช่นเดียวกันที่จะมีในเรื่องต่าง ๆ หากจะต้องดำเนินคดีหรือปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนแล้วนั้นก็จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ไว้เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ก็มีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุนั้นซึ่งได้กำหนดสิทธิของผู้สูงอายุไว้ในมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วในมาตรา 11 ทั้งหมด 13 อนุมาตราด้วยกันมุ่งคุ้มครอง ผู้สูงอายุในประเด็นด้านสวัสดิการทางสังคมโดยไม่ได้กำหนดสิทธิหรือประเด็นในกรณีที่ผู้สูงอายุ กระทำความผิดทางอาญาว่าควรปฏิบัติกับบุคคลเหล่านี้เช่นไรโดยจากตารางเปรียบเทียบผู้วิจัยหยิบ ยกสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพราะถือว่าเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับทั่วไปกับ บุคคลทุกคน และคำสั่งของสำนักงานตำรวจดังกล่าวก็ยังมีสิทธิบางประการที่ไม่ครอบคลุมถึงตัว ผู้ต้องหาที่สูงอายุ ซึ่งไม่รวมถึงสิทธิตามกฎหมายเฉพาะ อาทิ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อ ดำเนินการกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีศาลเป็นการเฉพาะด้วย ซึ่งแตกต่าง กับผู้สูงอายุที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะถึงแม้จะมีในส่วนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ไม่ สามารถครอบคลุมการคุ้มครองทั้งหมด หรือพระราชบัญญัติผู้สูงอายุก็ไม่ได้กำหนดถึงเรื่อง กระบวนการยุติธรรม ผู้วิจัยคิดว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุควรกำหนดสิทธิมนมาตรา 11 เพิ่มเข้าไป และในส่วนของกระบวนการดำเนินคดีในการสอบสวน จับกุม ให้ออกประกาศภายใต้พระราชบัญญัติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2565 ดังเช่นคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการสอบสวน ซึ่งหากเราพิจารณาถึงแนวคิดทฤษฎีในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของผู้ต้องหาได้กล่าวไว้โดยได้ใจความว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องจำเป็นถึง หลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยความเสมอภาคความเท่าเทียมโดยเฉพาะเมื่อบุคคล นั้นเป็นบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีสภาพร่างกาย ภาวะของสมอง และจิตใจเสื่อมถอยลงไปทุกวันแต่ จำนวนกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ตามรายงานจำนวนตัวเลขของกรมกิจการผู้สูงอายุจึงเป็น สิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องมาวิเคราะห์ถึงกฎหมายระหว่างประเทศ หรือแนวทางนโยบายของรัฐ ตั้งแต่ การกำหนดในรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ หรือระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของผู้สูงอายุดังหัวข้อต่อไปนี้ 4.3.4 หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้สูงอายุภายใต้นโยบายของประเทศไทยและตาม หลักสากล 1.นโยบายต่างประเทศ ในส่วนของการศึกษาผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวนโยบายของต่างประเทศที่ได้พูดถึง ประเด็นของผู้สูงอายุซึ่งในส่วนนี้จะพิจารณาอยู่สองประการด้วยกันคือ แผนปฏิบัติการระหว่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3