การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

120 ประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ และประชาคมอาเซียน 2025 โดยแผนปฏิบัติการระหว่าง ประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุได้กำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาผู้สูงอายุใน 3 ประเด็นคือ 1. ผู้สูงอายุกับการพัฒนา 2. สูงวัยอย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ และ 3. การสร้างความมั่นใจว่าจะมี สภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม ต่อมาในส่วนของนโยบายของประชาคมอาเซียน 2025 ได้ กำหนดแผนจัดตั้งประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีความร่วมมือ 6 ด้าน ด้วยกันซึ่งมีความสอดคล้อง กับงานด้านผู้สูงอายุอยู่ 3 ด้านคือ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม และ 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ดังนั้นจึงจะเห็นว่านโยบายทั้งสองประการนี้ก็มุ่งคุ้มครอง สวัสดิภาพผู้สูงอายุแม้จะเน้นไปในทางของการจัดสวัสดิการ ความมั่นคงในชีวิตก็ตาม แต่เราคงหลีก หนีไม่พ้นเรื่องการก่ออาชญากรรมหากเราไม่กำหนดหรือรัฐไม่จัดให้มีมาตรการสำหรับคนกลุ่มนี้เลยก็ คงจะไม่ทันยุคสมัยกับปัญหานี้ แต่ในส่วนของประชาคมอาเซียนก็ได้กล่าวไปถึงกระบวนการยุติธรรม อยู่บ้างก็ถือเป็นสิ่งที่ดีและประเทศไทยก็ควรเน้นในประเด็นปัญหานี้เช่นกัน 2. นโยบายภายในประเทศไทย โดยในส่วนของนโยบายของประเทศผู้วิจัยจะวิเคราะห์ 7 หัวข้อสำคัญด้วยกันซึ่งจะแยก พิจารณาดังนี้ นโยบายรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีกำหนดนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ 11 ประการด้วยกัน ซึ่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นผู้สูงอายุนั้นคือนโยบายด้านที่ 3 การลดความ เหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เช่น การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคตเป็นต้น ซึ่งในส่วนของนโยบายของ รัฐบาลเมื่อวิเคราะห์ในประเด็นทั้ง 3 ด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม การเข้าถึงของ การบริการของรัฐอันจะเห็นว่าจะเป็นนโยบายที่นอกจากจะมุ่งคุ้มครองในประเด็นของการจัด สวัสดิการแล้วนั้นรัฐก็ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นการเข้าถึงในการบริการด้านกระบวนการยุติธรรมของการ กระทำความผิดของผู้ต้องหาที่สูงอายุอันจะก่อให้เกิดความเทียมในด้านของสิทธิ เสรีภาพ ของ ผู้ต้องหาในคดีอาญาจึงคิดว่าควรมีนโยบายที่ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาในส่วนของแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552-2564 ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุโดยตรงนั้นซึ่งมีประเด็นสำคัญอยู่ 5 ประการด้วยกันกล่าวโดยสรุปทั้ง 5 ประการ นั้นจะมุ่งเน้นการคุ้มครองผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง เข้าถึงสวัสดิการของรัฐ และรวม ไปถึงการดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ทุกข์ยาก เดือดร้อนให้ดำรงชีวิตในชุมชนได้อย่างมีความสุข ดังนั้นแสดงให้ว่ารัฐบาลมีแผนที่ดีต่อการอำนวยความสะดวกและคำนึงถึงปัญหาจำนวนผู้สูงอายุที่ เพิ่มขึ้นแต่เป็นการมุ่งเน้นในเชิงของสวัสดิการความเป็นอยู่แต่อย่าลืมว่าในโลกนี้ตั้งแต่มีมนุษย์เกิด ขึ้นมาอยู่ร่วมตัวกันในอดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งสิ่งที่ควบคู่มาด้วยนั้นคือปัญหาการก่ออาชญากรรมดังนั้นรัฐ ก็ควรจะมีแผนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษในกระบวนการยุติธรรมในการสอบสวนที่ เหมาะสมตามอายุนั้นเอง ให้สอดคล้องกับการสถานการณ์ผู้สูงอายุที่ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไป ในอนาคต นอกจากแผนผู้สูงอายุต่อมาที่เป็นหลักในการพัฒนาประเทศอีกประการที่สำคัญก็คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจากการศึกษาแล้วพบว่ายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมีอยู่ 2 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน คือ 1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3