การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
121 และ2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งในประเด็นของ ยุทธศาสตร์ด้านความเสมอภาคทางสังคมนั้นคือการเข้าถึงการบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่าง เป็นธรรมและทั่วถึง ซึ่งความเสมอภาคหากยุทธศาสตร์ชาติได้ให้ความหมายหรือขอบเขตเพียงเท่านี้ ผู้วิจัยคิดว่าในความเสมอภาคนอกจากจะเป็นด้านสวัสดิภาพก็ควรจะมีความเสมอภาคความเท่าเทียม ในด้านกระบวนการยุติธรรมด้วย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ผู้สูงอายุ 3 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน คือ 1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ 2. ยุทธศาสตร์การ สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่หน้าสนใจก็คือ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้ง ที่ดีและไม่ดีภายใต้หลักของสิทธิมนุษยชนนั้นเอง ข้อเสนอของสภาปฏิรูปประเทศจะมุ่งเน้นระบบด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และการปรับสภาพแวดล้อมซึ่งเห็นว่าหากด้านต่าง ๆ เหล่านี้ดีก็อาจะส่งผลให้ผู้สูงอายุที่ไร้ที่พึ่งหรือ ยากจนไม่กระทำก็เป็นไปได้แต่อย่างไรก็ดีนั้นคือผลในปลายทางอย่างน้อย ๆ ก็ควรกำหนดระบบใน ด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ผู้ใช้กฎหมายไม่ว่าตำรวจหรือพนักงานอัยการได้นำไปปฏิบัติตามให้ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในส่วนของมติคณะรัฐมนตรีกล่าวไว้ในส่วนที่ เกี่ยวกับผู้สูงอายุก็จะเป็นในส่วนของเงินบำเหน็จบำนาญ ที่อยู่อาศัย ก็จะเป็นการช่วยเหลือในส่วน ของรายได้เป็นหลัก กล่าวโดยสรุปในผลการวิจัยทั้งหมดที่ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์อันได้แก่ แนวคิดทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายและสุขภาพ ด้านจิตวิทยา และ ทางด้านกฎหมายประกอบกับการวิเคราะห์กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยในชั้นก่อน ฟ้องคดีเปรียบเทียบกับกฎหมายภายในของต่างประเทศได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเยอรมนี และสุดท้ายซึ่งเป็นประเด็นสำคัญคือประเด็นในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ผู้ต้องหาสูงอายุพิจารณาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนด้วยเหตุผลจากแนวคิดทฤษฎี ทางด้านร่างกาย หรือจิตวิทยาทำให้มีความคล้ายคลึงกับกรณีการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน และหลักการสิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวและร่างกาย อันถือว่าผู้ต้องหาสูงอายุควรได้รับการปฏิบัติ เช่นเดียวกันในกระบวนการสอบสวน การจับกุมในบางประเด็นอันจะนำไปสู่การเสนอข้อเสนอแนะใน บทที่ 5 ต่อไปซึ่งผู้วิจัยพิจารณาความแตกต่างระหว่างลำดับศักดิ์ของกฎหมายพบว่าประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับเดียวกันและออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหากได้ปรับปรุงแก้ไข กฎหมายในส่วนนี้อันจะทำให้กฎหมายที่เพิ่มเติมนั้นมีความหน้าเชื่อถือนำไปสู่การปฏิบัติเป็นขั้นตอน ในท้ายที่สุด เมื่อเทียบกับการออกเป็นกฎกระทรวงซึ่งออกโดยฝ่ายปกครอง ถึงแม้ตามพระราชบัญญัติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฉบับปัจจุบันให้อำนาจไว้ก็ตาม แต่ด้วยศักดิ์ที่ต่ำกว่าประมวลกฎหมายอัน จะนำไปสู่การถูกละเลย และเลือกนำมาปฏิบัติได้ในท้ายที่สุด ผู้วิจัยเห็นควรให้แก้ไข เพิ่มเติมมาตราใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาในกรณีการจับกุมในประเด็นของวิธีการจับกุมและความรู้ของเจ้าหน้าที่ ตำรวจในขณะเข้าทำการจับกุม และในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาที่สูงอายุในประเด็นของการสอบปากคำ การฝากขัง โดยผู้สอบสวนจะต้องมีความรู้ในกระบวนการชรา คำถามที่มีความซับซ้อนจะต้องกระทำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3