การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยนี้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สำหรับแนวทางการพัฒนาและคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาสูงอายุในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญา แนวคิดและ ทฤษฎีของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญา รวมทั้งศึกษามาตรการทาง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องหาสูงอายุในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญา กฎหมาย ต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ นำมาวิเคราะห์กับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องหาสูงอายุในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญา เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือ เพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องหาสูงอายุในชั้นก่อน ฟ้องคดีอาญา จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องหาสูงอายุ ในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญา พบว่า ระบบการพิจารณาคดีออกเป็นสองระบบคือระบบศาลคู่และระบบ ศาลเดียวซึ่งจะใช้แยกกันและแตกต่างกันออกไปตามประเภทศาลที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศ และยังมี ระบบการพิจารณาคดีเป็นสองระบบตามประเภทของศาลเช่นกัน กล่าวคือมีระบบกล่าวหา และระบบ ไต่สวนซึ่งงานที่ผู้วิจัยได้ศึกษานั้นเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งอยู่ภายใต้ของศาลยุติธรรมซึ่ง เป็นศาลประเภทหนึ่งจากศาลทั้งหมดของภายในประเทศโดยจะใช้ระบบการพิจารณาคดีเป็นระบบ กล่าวหามุ่งเน้นการรับฟังพยานหลักฐานเข้ามาต่อสู้กันในคดีโดยเฉพาะคดีอาญาที่ผู้วิจัยได้ ทำการศึกษา โดยมีที่มาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรภายในประเทศไทย ก็คือ ปัญหาผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องล่าสุดในปี พ.ศ.2565 จากรายงานของกรมกิจการผู้สูงอายุพบว่า มีประชากรร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมดภายในประเทศคิดเป็น 12 ล้านกว่าคนเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้วิจัยจึงตระหนักคิดว่าโดยสภาพร่างกาย และความเสื่อมทางสมองของผู้สูงอายุนั้นอาจจะส่งผล ให้บุคคลเหล่านี้เข้าสู่การกระทำความผิดก่ออาชญากรรมทั่วไปและอาชญากรรมออนไลน์ได้ก็เพราะ เนื่องจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพบว่าผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากที่ใช้สื่อออนไลน์อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงในการกระทำความผิดและอาจจะตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมโดยกรณี การกระทำความผิดหากเป็นกรณีออนไลน์ก็เนื่องด้วยเหตุปัจจัยด้วยสภาวะทางสมอง ด้วยอายุที่มาก อาจจะหลงผิด และมีกระบวนการคิดที่ล่าช้า การตัดสินใจที่ไร้เหตุผล หงุดหงิดง่ายรวมไปถึงต้องใส่ ภาษกายเข้ามาเกี่ยวข้องในการสื่อสารบ้างครั้งซึ่งจะส่งผลในการกระทำผิด ไปโดยอารมณ์ชั่วขณะไร้ การยั้งคิด ตัดสินใจ ซึ่งเมื่อคลุกคลีกับเทคโนโลยีมากทุกวันอันจะทำให้โดยจูงใจให้กระทำความผิดได้ ง่ายขึ้นนั้นเองจึงมองว่าหากจะต้องจับกุมหรือสอบสวนบุคคลเหล่านี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่ ถูกต้องนั้นควรจะมีวิธีการที่เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุนั้นเองสามารถอภิปรายผลการวิจัยใน ข้อต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3