การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

123 5.2 อภิปรายผล 5.2.1 ปัญหาในด้านบริบทของสังคมกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากร สูงอายุ ผลการศึกษาในประเด็นปัญหาของสังคมกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของ ประชากรสูงอายุ พบว่าในปัจจุบันตั้งแต่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2548 จนถึง ปัจจุบันประเทศไทยก็ประสบกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุมาตลอดระยะเวลาดังกล่าวแต่เนื่องด้วยในอดีต นั้นปัญหาสังคมสูงวัยยังเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไม่ให้ความสำคัญมากหนักก็คงเป็นเพราะประชากรกลุ่ม ดังกล่าวเป็นเพียงประชากรส่วนน้อยของประชากรทั้งหมดภายในประเทศแต่เมื่อมาดูตัวเลขในปัจจุบัน พบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีถึง 12 ล้านกว่าคนจากประชากรทั้งหมดคิดเป็นร้อย 18 ซึ่งทำให้ รัฐจะต้องตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมากับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรนี้ โดยจะเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐพยายามออกกฎหมาย ประกาศหรือรวมถึงนโยบายที่ กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยหนักก็จะพิจารณามุ่งเน้น ไปในส่วนของสวัสดิการคุ้มครอง เยี่ยวยา ทั้งการเงิน ที่พักอาศัย เพราะผู้สูงอายุคือกลุ่มคนที่เต็มไป ด้วยศักยภาพที่ไม่อาจจะละเลยได้ แต่กลับกันอีกมุมหนึ่งที่รัฐไม่พิจารณาหรือให้ความสำคัญอย่าง จริงจังคือในส่วนของกระบวนการยุติธรรมเมื่อพิจารณาสถิติการกระทำความผิดซึ่งเป็นคดีพิจารณา จำแนกตามอายุ พบว่า จำนวนจำเลยในคดีอาญาที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปนั้น โดยคดีเสร็จไปช่วงปี พ.ศ. 2561 -2565 ในช่วงปีดังกล่าวมีจำนวนจำเลยซึ่งได้กระทำความผิดในคดีอาญาที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปนั้น อยู่ในช่วง 20,000 - 25,000 คน โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา พบว่าจำนวนจำเลยในคดีอาญาที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 25,000 คน เพิ่มขึ้นไปเรื่อยมา และ ในบางปีมีจำนวนสูงกว่า 30,000 คน ผู้วิจัยจึงเห็นควรว่าการทำวิจัยในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ บุคคลผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษแต่ประการใดไหมแต่เพียงต้องการให้มีมาตรการในกฎหมายที่มี อยู่แล้วเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อทำให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นเอง 5.2.2 ปัญหาในด้านของมาตราบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องหา สูงอายุ ผลการศึกษาในประเด็นปัญหาทางด้านมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ พบว่า กฎหมายที่เป็นกำหมายโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุก็คือพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของ ผู้สูงอายุเอาไว้ในมาตราที่ 11 แห่งพระราชบัญญัตินี้ มีทั้งหมด 13 อนุมาตราด้วยกันซึ่งจากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่ากฎหมายดังกล่าวมุ่งเน้นคุ้มคลองสิทธิของผู้สูงอายุในด้านของสวัสดิการทางสังคม ความ เป็นอยู่โดยไม่ได้มีการพูดถึงมาตรการทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมไว้แต่อย่างงใด ต่อมาใน ส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวกับตัวบุคคลทุกคนที่กระทำความผิดอาญาในประเทศไทยจาการศึกษาก็จะมี กฎหมายหลัก ๆ ดังนี้กล่าวคือ 1.คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความ ยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวน คดีอาญา 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ3. ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ซึ่งหากจะกล่าวโดยสรุปแล้วทุกกฎหมายจะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่บางครั้ง รัฐธรรมนูญก็พูดในรูปแบบตีความกว้าง ๆ หากจะพูดในเรื่องของการสอบสวนก็จะต้องพิจารณาถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3