การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 ครอบครัวเชื่อมต่อระหว่าง บุคคลในช่วงวัยต่าง ๆ ความคิดที่คิดว่าวัยของผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ควรหยุด การเรียนรู้ และควรนั่งพักผ่อนอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพอนามัย ปัญหาด้าน สังคม และด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นกว่าวัยอื่น ๆ จึงทำให้มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ต้องใช้ชีวิตด้วย ความเปลี่ยวเหงา (ฐิติมา ดวงวันทอง,2560) อีกทั้งในส่วนของโครงสร้างของระบบเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายย่อมเสื่อมสภาพ และ ถดถอยอ่อนแอลงไปตามสภาพ ร่วมไปถึงปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ด้านร่างกายหรือทางด้านจิตใจ รวมไปถึงทางด้านเศรษฐกิจ โดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โรคและ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มโรคโดยทั่วไปที่ เกิดกับบุคคลทุกช่วงวัยได้แก่กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) ให้ความสำคัญใน การป้องกัน และควบคุมแบบเร่งด่วนในสี่กลุ่มโรคหลัก ๆ คือ 1. โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ 2. โรคเบาหวาน 3. โรคมะเร็ง และ4. โรคปอดเรื้อรัง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มอาการที่ชอบจะเกิดเฉพาะกับ ผู้สูงอายุซึ่งสามารถพบได้บ่อยอีกทั้งใกล้เคียงกับกลุ่มโรคเรื้อรัง คือ1. อาการสับสน และสูญเสียความ ทรงจำ 2. ภาวะกระดูกพรุน 3. ปัญหาการทรงตัวและการหกล้ม 4. การนอนไม่หลับ 5. อาการมึนงง 6. ปัญหาการไม่ได้ยิน และ7. ปัญหาการมองเห็น เป็นต้น (อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์,2563) จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายในการใช้สื่อทางสังคมของผู้สูงวัยพบว่าผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.72 ระบุว่า ใช้ Line รองลงมา ร้อยละ 30.56 ระบุว่า ใช้ Facebook ร้อยละ 29.60 ระบุว่า ใช้ YouTube ร้อยละ 4.80 ระบุว่า ใช้ Instagram และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ใช้ Twitter ซึ่งอาจเป็น การกระทำความผิดที่มีปัจจัยอื่นเข้ามากระตุ้นทำให้เกิดการกระทำที่ผิดพลาด (Post today, 2563) ภาพที่ 1 ข้อมูลสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (ที่มา : กรมกิจการผู้สูงอายุ.2563) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและการลดลงของอัตราการเกิดและอัตราการตาย ทำให้ “ภาวะ ประชากรสูงอายุ” ในประเทศไทยสูงขึ้น เมื่อพิจารณาขนาดและโครงสร้างของประชากรไทย จากรายงานสถิติปี 2563 ดั่งรูปภาพแสดงข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามีจำนวนประชากรในประเทศไทย จำนวนรวม 66.5 ล้านคน โดยเป็นเพศผู้ชายจำนวน 93 คนต่อผู้หญิงจำนวน 100 คน มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.1 ของประชากรทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังจะ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ภายในปี 2565 นี้ เท่ากับว่าประเทศไทยใช้เวลาตั้งแต่เริ่มเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3