การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

125 ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งได้กำหนดสิทธิเสรีภาพแห่งความเท่าเทียมกันไว้ในมาตรา 27 โดยหนึ่งใน เนื้อความแห่งรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้กำหนดถึงประเด็นเรื่องอายุไว้รวมไปถึงในหมวดที่ 6 ว่าด้วย แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 71 วรรคสาม กล่าวคือรัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันด้วยอีก ทั้งในส่วนของกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยนั้นกฎหมายได้กำหนดสิทธิของผู้ต้องหาไ ว้ แต่ ไม่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะการ เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายระหว่างประเทศนั้นก็ได้ให้การยอมรับและ คุ้มครองผู้ต้องหาที่สูงอายุมากเนื่องจากประชากรโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเอง ผู้จะวิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของของ ผู้กระทำผิดทั่วไปใน ชั้นก่อนฟ้องคดี คือในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวน โดยกระบวนการยุติธรรมทาง อาญาไปคุ้มครองผู้สูงอายุตั้งแต่การจับกุมอันเป็นหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพซึ่งผู้ต้องหาทุกคน พึ่งได้รับอยู่ทั่วไปแต่หากเป็นผู้สูงอายุเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพทางร่างกายและจิตใจหากกฎเข้าไป คุ้มครองเป็นพิเศษเช่นเดียวกับเด็กและเยาวชนจะทำให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นก่อนฟ้อง คดี ทั้งในชั้นจับกุมทำให้เจ้าหน้าที่มีความตระหนักในการดำเนินคดีในเชิงปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงสุขภาพ ผู้สูงอายุในชั้นสอบสวนจะส่งผลให้พนักงานสอบสวน ทนายความ หรือแม้แต่ผู้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะอันจะทะให้การได้มาซึ่งคำให้การที่มี ความน่าเชื่อถืออีกทั้งในกระบวนการฝากขังหรือปล่อยตัวชั่วคราวเจ้าหน้าที่จะต้องคำนึงถึงการอาศัย ในเรือนจำ จำแนกเป็นเขตเฉพาะไปทำให้สิ่งทั้งหมดที่กล่าวนั้นรวมกันเป็นกระบวนการยุติธรรมทาง อาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีอันจะส่งให้ผู้ต้องหาสูงอายุได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเฉพาะและใน ประเด็นที่สำคัญคือการทำให้ประชาชนเกิดการยอมรับและมีความเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมใน อนาคต 5.3 ข้อเสนอแนะ จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วจึงมีข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ดังนี้ ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย 1) เสนอแนะให้เพิ่มเติมอนุมาตรา แห่งมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ดังนี้ 1.1) โดยกำหนดอนุมาตราเพิ่มเติมขึ้นมาเป็นอนุมาตราที่ 14 ใจความว่า มาตรา 11 ผู้สูงอายุมี สิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ดังนี้(1)........... (14) การรับการ ปฏิบัติที่เหมาะสมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเช่นเดียวกับเด็กและเยาวชน และควรได้รับการ ปฏิบัติจากบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกระบวนการชรา 2) เสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตราในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในชั้นสอบสวน และการจับกุมผู้ต้องหาสูงอายุดังนี้ 2.1.)ในการสืบสวน สอบสวน เจ้าหน้าที่จะต้องกระทำแยกออกเป็นสัดส่วนและจะต้องมีความรู้ เกี่ยวพฤติกรรม และกระบวนการชรา 2.2) สิทธิที่จะมีนักจิตวิทยาสำหรับผู้สูงอายุ มีนักสังคมสงเคราะห์ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ ด้วยในการสอบสวน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3