การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

3 “สังคมสูงอายุ” ในปี 2548 จนกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 เป็นเวลา 17 ปี โครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา จากประชากร เยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัยหรือสูงอายุ ในปี 2513 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเพียง 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ต่อมาในปี 2563 ประชากร สูงอายุได้เพิ่มเป็น 12.0 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.1 ของประชากรทั้งหมด (มูลนิธิสถาบันวิจัยและ พัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2564) โดยแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางด้านประชากรใน สังคมซึ่งใช้ระยะเวลา 17 ปี ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านจึงจำเป็นจะต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะส่งผล กระทบตามมาในอนาคตดังที่ผู้วิจัยได้กล่าวไปข้างต้นไม่ว่าจะเป็นในด้านของเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิการ ความเป็นอยู่ที่รัฐพึ่งได้ส่งเสริม และกระทำอยู่นั้น แต่โดยเฉพาะในด้านของกระบวนการทางกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมก็เป็นด้านที่อยู่คู่กับการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทยทุกผู้ทุกคนซึ่งอาจจะ ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ไปด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการกระทำ ความผิดของผู้สูงอายุซึ่งอาจจะมีเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โดยหากมองว่าเด็กเป็นบุคคลที่ต้องได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติทางกฎหมายเป็นพิเศษให้ ดำเนินคดีอาญาแตกต่างจากผู้ใหญ่แล้ว ผู้สูงอายุก็ควรได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษเช่นกันเนื่องจาก ข้อเท็จจริงด้านวัยที่เป็นปัจจัยหลักส่งผลให้มีความเปราะบางซึ่งอาจจะกระทบสิทธิของผู้ต้องหาที่ สูงอายุหากจะมีการดำเนินคดีอย่างคนปกติทั่วไปผู้สูงอายุจึงตกเป็นผู้ต้องเสียเปรียบสำหรับการตกเป็น ผู้ต้องหา ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งขัดกับหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้ต้องถูก กล่าวหาในทางอาญาว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าผิดจริงเนื่องด้วยปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านสุขภาพ จึงอาจทำให้เกิดความผิดหลงในการต่อสู้คดี เป็นความจริงที่ผู้ต้องหาจะต้องถูก ดำเนินคดีอย่างเท่าเทียมกันทุกคดีแต่ด้วยสภาพจิตใจของผู้สูงอายุซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายใน ประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลเผชิญมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัวตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บที่เผชิญ อยู่ ย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมที่จะต่อสู้คดีอาญา ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าบั่นทอนทั้ง สภาพจิตใจ ระยะเวลา และอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุยอมพ่ายแพ้ต่อการดำเนินคดีโดยไม่ต่อสู้ตามสิทธิที่ ตนมี การปฏิเสธให้ความคุ้มครองสิทธิในการดำเนินคดีอย่างเท่าเทียมของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ควรมี การพิจารณาแก้ไขทั้งในเชิงนโยบายรัฐ และในแง่มุมของกฎหมาย โดยในเบื้องต้นกฎหมายจะต้อง ยอมรับก่อนว่าผู้สูงอายุมีความพิเศษที่จะต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิและจัดสวัสดิภาพตามสมควรแก่ วัย และกฎหมายต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เมื่อพูดถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยนั้นก็จะมีทั้งในส่วนของในชั้นก่อนฟ้อง คดี กล่าวคือ ในชั้นของการจับกุม สอบสวน และในส่วนของพนักงานอัยการซึ่งในส่วนของพนักงาน อัยกาจะเป็นจุดเชื่อมระหว่างในชั้นก่อนฟ้องและหลังฟ้อง ซึ่งในชั้นของหลังฟ้องคดีก็จะเป็นในส่วน ของชั้นศาลและหลังจากศาลมีคำพิพากษาคือในส่วนราชทัณฑ์ ซึ่งผู้วิจัยจะได้ทำการศึกษาปัญหา ผู้สูงอายุข้างต้นกับการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดที่สูงอายุในส่วนของชั้นก่อนฟ้องคดี กล่าวคือ ในชั้น จับกุม และในชั้นสอบสวนคดี เนื่องจากกระบวนการในชั้นก่อนฟ้องคดีนั้นถือเป็น จุดเริ่มต้นหรือเป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยหากต้นน้ำดีปลายน้ำก็จะดี ตามไปด้วยกล่าวคือหากในจุดเริ่มต้นของกระบวนการนั้นผู้ต้องหาสูงอายุได้รับการปฏิบัติให้เหมาะสม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3