การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
4 สอดคล้องกับวิธีการตามความเหมาะสมต่อคนชราแล้วนั้นก็จะส่งผลให้กระบวนการในส่วนต่อไปๆก็จะ เกิดประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไปนั้นเอง ในประเทศไทย เมื่อพิจารณาสถิติการกระทำความผิดซึ่งเป็นคดีพิจารณาจำแนกตามอายุพบว่า จำนวนจำเลยในคดีอาญาที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปนั้น โดยคดีเสร็จไปช่วงปี พ.ศ. 2561 -2565 ในช่วง ปีดังกล่าวมีจำนวนจำเลยซึ่งได้กระทำความผิดในคดีอาญาที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปนั้น อยู่ในช่วง 20,000 - 25,000 คน โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา พบว่าจำนวนจำเลยใน คดีอาญาที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 25,000 คน เพิ่มขึ้นไปเรื่อยมา และในบางปีมีจำนวนสูง กว่า 30,000 คน (สำนักงานศาลยุติธรรม, 2563) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยก็มีจำนวน ประชากรจำเลยสูงอายุในคดีอาญาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่าง สมบูรณ์อีกด้วยและจากสถิติผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำซึ่งเป็นในส่วนของกรณีเปลี่ยนผ่านมาจาก จำนวนคดีที่ขึ้นต่อศาลแล้วศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งพบว่า จำนวนผู้ต้องขังที่มี อายุ 60 ปีขึ้นไป ในช่วงปี พ.ศ. 2561 -2565 พบว่ามีผู้ต้องหาอยู่ระหว่างตั้งแต่ 4,030 – 5,651 คน ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ในอนาคตเนื่องจากประชากรของประเทศไทยที่มีจำนวนผู้สูงอายุเป็น จำนวนมากขึ้นเลื่อยๆจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการในการคุ้งครองสิทธิของผู้ต้องหาที่สูงอายุใน ครอบคลุมมากขึ้นไปด้วย (กรมราชทัณฑ์, 2565) เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายในส่วนของประเทศที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และ รวมไปถึงกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 สิทธิของผู้สูงอายุตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ หรือกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งได้กำหนดสิทธิเสรีภาพแห่งความเท่าเทียมกันไว้ในมาตรา 27 โดยหนึ่งใน เนื้อความแห่งรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้กำหนดถึงประเด็นเรื่องอายุไว้รวมไปถึงในหมวดที่ 6 ว่าด้วย แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 71 วรรคสาม กล่าวคือรัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันด้วยอีก ทั้งในส่วนของกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยนั้นกฎหมายได้กำหนดสิทธิของผู้ต้องหาไว้ แต่ ไม่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะการ เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายระหว่างประเทศนั้นก็ได้ให้การยอมรับและ คุ้มครองผู้ต้องหาที่สูงอายุมากเนื่องจากประชากรโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเอง ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของของ ผู้กระทำผิดทั่วไปใน ชั้นก่อนฟ้องคดี คือในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวน และด้วยเนื่องจากผู้สูงอายุนั้นถือเป็นกลุ่มเปราะบางรัฐควรให้ความสำคัญอีกทั้งเพื่อพิจารณา ข้อมูลทางการแพทย์พบว่า เมื่อบุคคลมีอายุสูงขึ้น การทำงานของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ย่อมเสื่อมถอย และอ่อนแอลงไปตามเหตุปัจจัย ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในด้าน ร่างกาย จิตใจ และทางเศรษฐกิจ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยโรคภัยและปัญหาด้านสุขภาพใน ผู้สูงอายุ แสดงให้เห็นถึงปัญหาหรือปัจจัยที่ส่งผลในการกระทำความผิดของผู้สูงอายุหรือการจัดทำ กระบวนการทางอาญาที่เหมาะสมกับบุคคลเหล่านี้ยิ่งกว่าบุคคลทั่วไปที่ปฏิบัติอยู่ทั้งกระบวนการ รัฐ ควรดูแลคุ้มครองสิทธิของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหาก็ตามในกรณี ผู้ต้องหาหรือผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงอายุนั้นยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเช่นเดียวกับเด็ก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3