การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

9 หมายความ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย (พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560) และกรมประชาสงเคราะห์ ให้ความหมายผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่สังคมได้กำหนดเกณฑ์เมื่อมีชีวิตอยู่ในวัยสุดท้ายของชีวิต ซึ่ง เป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม (กรมประชาสงเคราะห์, 2530) ขณะที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญสวัสดิการผู้สูงอายุ วุฒิสภา ให้ความหมายของผู้สูงอายุว่า เป็นบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสื่อมตามวัย ความต้านทานโรคลดลง (คณะกรรมาธิการวิสามัญสวัสดิการผู้สูงอายุ และการพัฒนาสังคม วุฒิสภา, 2534) นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการ (นิศา ชูโต,2525) ได้ให้ความหมายว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มี อายุวัดด้วยจำนวนปีตาม ปฏิทินของเวลาที่มีชีวิตอยู่ เวลาจะเป็นเครื่องชี้อันหนึ่ง แต่การจำแนกว่าจะ ใช้จำนวนปีเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับสังคมนั้น ๆ และ (สุรกุล เจนอบรม,2534) ได้จำกัดความผู้สูงอายุว่า หมายถึง บุคคลที่อยู่ในวัยสุดท้ายของ วงจรชีวิต ซึ่งเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่ม วัยสาว วัยผู้ใหญ่และวัยชรา ใน เกณฑ์การกำหนดว่าใครเป็น ผู้สูงอายุนั้น พิจารณาจากบทบาทของ บุคคลนั้น ๆ ในสังคม ในปัจจุบัน มักใช้อายุเป็นเกณฑ์บางประเทศ 55 ปีบางประเทศ 75 ปีซึ่งนับจากเกณฑ์การปลดเกษียณ (สุพัตรา สุภาพ,2540) ให้ความหมายของผู้สูงอายุว่า ผู้สูงอายุหรือวัยชราในแต่ละประเทศหรือแต่ละสังคม กำหนดไว้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการทำงาน หรือสภาพ ร่างกาย ในบางครั้งอายุมิได้บอกว่าใคร เป็นผู้สูงอายุแต่เป็นเพียงแนวทางให้เราทราบว่าใครสมควร เป็นคนชราหรือผู้สูงอายุ มีผู้ให้ความหมาย ของผู้สูงอายุไว้มากมาย ซึ่งเกณฑ์ในการกำหนดความเป็น ผู้สูงอายุนั้นมีความแตกต่างกัน ตามสภาพ สังคม และระยะเวลาของผู้สูงอายุ ดังนั้นที่ประชุม สมัชชาโลกวาด้วยผู้สูงอายุ จึงกำหนดให้ผู้มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้สูงอายุ และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก (บุษยมาส สินธุประมา, 2539) สรุปจะเห็นว่ามีผู้ให้ความหมายผู้สูงอายุดังกล่าวข้างต้นไว้มากมายสำหรับประเทศไทย ผู้สูงอายุจึงหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิงโดยนับอายุตามปฏิทินเป็น มาตรฐานสากลในการเป็นผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยยังมองไปถึงบุคคลผู้มีความชราที่ตามมาด้วยโรคภัยและ ความเสื่อมถอยของร่างกายในกระบวนการคิด กระบวนการทางสมอง อีกด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุและภาวะสูงอายุ ความเป็นผู้สูงอายุ หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในกระบวนการ สุดท้ายของช่วงอายุมนุษย์ดังนั้น ความสูงอายุหรือความชราภาพจึงเกี่ยวข้องกับความเสื่อมถอยทั้งทาง ร่างกาย ทางจิตใจและการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามอายุ วัยสูงอายุเป็นวัยที่บุคคลต้อง เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างมากมายอันเริ่มมาตั้งแต่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งโดยมากเป็นไป ในทางลบเกิดโรคภัยต่าง ๆ (ศิรางค์ ทับสายทอง,2533) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความเป็นผู้สูงอายุจะ เกี่ยวข้องกับความเสื่อมถอยทั้งทางร่างกายรวมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพ ความสามารถทางร่างกาย ลดลง ความสามารถในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ลดลงซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ด้วยกัน (สุรกุล เจนอบรม, 2534) ได้กล่าวไว้ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3