การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

11 ตาเริ่มฝ้าฟางมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ผมบางและเปลี่ยนสี ความสามารถในการได้ยินเสื่อมไป และป่วย เป็นโรคต่าง ๆ ความต้องการที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุได้แก่ ความต้องการสนับสนุนจากครอบครัว ต้องการความเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวต้องการการยอมรับและความเคารพยกย่องนับถือต้องการ ความรัก ความใกล้ชิดจากลูกหลาน นอกจากนี้ยังต้องการการมีชีวิตร่วมในชุมชนภูมิลำเนาเดิมของตน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนต้องการลดการพึ่งพาคนอื่นให้น้อยลงหรือหลักประกันความสูงอายุ เมื่อต้องเลิกประกอบอาชีพแล้วหากยังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และมั่งคงปลอดภัยตาม ควรแก่ฐานานุรูปในช่วงบั้นปลายชีวิต การศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้สูงอายุได้มีทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเสนอความคิด และทฤษฎีที่ปรากฏในลักษณะของเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันออกไปทั้งในระดับจุลภาคและมหาภาค อย่างไรก็ดีทฤษฎีต่าง ๆ ที่กล่าวถึงต่อไปนี้เป็นผลที่เกิดจากความสนใจในการศึกษาเรื่อง ผู้สูงอายุและ ภาวะสูงอายุในปัจจุบันเนื่องจากจะนำมาพิจารณาให้เห็นและเชื่อมโยงในกรณีการกระทำความผิดของ ผู้สูงอายุว่าโดยแท้จริงแล้วบุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีพฤติกรรมในการกระทำความผิดโดยสันดานหรือหาก จะดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านี้นั้นควรพิจารณาให้มีกระบวนการที่เหมาะสมเนื่องด้วยสภาพทางด้าน ร่างกายในหลาย ๆ ด้านนั้นเองเนื่องจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง ตามจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จนเกิด เป็น ศาสตร์ใหม่ขึ้นมาคือพฤฒิวิทยา หรือวิทยาการผู้สูงอายุซึ่งแบ่งการศึกษา ออกไปหลายสาขา เช่น ชีววิทยา สังคมวิทยา แพทย์ และสาขาการศึกษา เป็นต้น ทฤษฎีต่าง ๆ แบ่งตามศาสตร์ สาขาที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถสรุปและ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทฤษฎีใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 1. กลุ่มทฤษฎีด้านชีววิทยา เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุของความชราภาพใน เชิงชีววิทยาสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยดังนี้ 1.1 กลุ่มทฤษฎีพันธุศาสตร์ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าคนชราหรือผู้สูงอายุเกิดขึ้นตามพันธุกรรมมี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอวัยวะบางส่วนของร่างกายคล้ายคลึงกันหลายชั่วอายุคนแสดงออก เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เช่น ผมหงอก ศีรษะล้าน ผิวหนังหย่อนยาน เป็นต้น 1.2 กลุ่มทฤษฎีเนื้อเยื่อทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความชราเกิดขึ้นจากการมีสารประกอบของ เนื้อเยื่อกระดูกเพิ่มมากขึ้น และมีการรวมคอลลาเจนไฟเบอร์หดสั้นในวัยสูงอายุทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น หรือการตึงบริเวณโคนกระดูก เป็นต้น 1.3 กลุ่มทฤษฎีทำลายตนเอง ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความชราเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายสร้าง ภูมิคุ้มกันลดน้อยลงทำให้ร่างกายต่อสู้เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมไม่ได้ดีทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้นอาจจะเกิดความรุนแรงถึงแก่ชีวิต 1.4 กลุ่มทฤษฎีความผิดพลาด ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเมื่อบุคคลอายุมากขึ้นจะค่อย ๆ เกิดความ ผิดพลาด และผิดพลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งทำให้เซลล์ ต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมและหมดอายุลง 1.5 กลุ่มทฤษฎีอนุมูลอิสระ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าภายในร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมมีเรดิคัลอย่างอิสระอยู่มากมายตลอดเวลา เรดิ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3