การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
12 คัลเหล่านี้ทำให้ยีนผิดปกติทำให้คอลลาเจน และอีลาสตินซึ่งเป็นโปรตีนองค์ประกอบของเนื้อเยื่อยึด เหนี่ยวเกิดขึ้นมากทำให้เสียความยืดหยุ่น 2. กลุ่มทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาสังคม ซึ่งกล่าวถึงจิตวิทยาทางสังคมของผู้สูงอายุ ซึ่งนัก ชราภาพวิทยาสังคมได้เสนออกเป็นหลายแนวคิดทฤษฎีซึ่งแบ่งออกได้ 5 กลุ่มย่อยดังนี้ (สุรกุล เจน อบรม,2541) 2.1 กลุ่มทฤษฎีบทบาท เชื่อว่าผู้สูงอายุนั้นรับบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันออกไปโดย ในตลอดชั่วชีวิต เช่น บทบาทของการเป็นนักเรียน เป็นบิดา มารดา สามีภรรยา บุตร เป็น ผู้บังคับบัญชา เป็นลูกจ้าง เป็นปู่ ย่า ตา ยาย และอีกมากมายในตลอดระยะเวลาของชีวิตตั้งแต่เกิดมา ของคนหนึ่งคนซึ่งแตกต่างกันออกไปโดยที่อายุจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในการที่ กำหนดบทบาทของผู้สูงอายุแต่ละคนแต่ละช่วงชีวิตที่ดำเนินไปของบุคคลนั้น ๆ ดังนั้นบุคคลจะ ปรับตัวต่อบทบาทของผู้สูงอายุได้ดีขึ้นอยู่กับการยอมรับบทบาทที่ผ่านมาของตนเอง อันจะส่งผลให้ไป ถึงการยอมรับบทบาทที่ผ่านมาในอดีตของแต่ละช่วงชีวิตของตนเองที่กำลังจะเปลี่ยนไปในอนาคตได้ 2.2 กลุ่มทฤษฎีกิจกรรม เชื่อว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขได้นั้นไม่ว่าจะเป็นทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งได้จากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาโดยสามารถดำเนิน ชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข และยังคงคำนึงว่าตนเองเป็นประโยชน์ต่อสังคม 2.3 กลุ่มทฤษฎีการแยกตนเอง ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ค่อย ๆ ถดถอยออกจาก สังคมทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุ และในกลุ่มคนวัยอื่น ๆ ด้วยเป็นการลดภาวะกดดันทางสังคมบางประการ และหนีความตึงเครียดโดยการถอนตัวออกจากสังคมไปในที่สุดเพราะคิดว่าตนเองมีอายุที่มากทำให้ไม่ สามารถพูดคุยกับบุคคลวัยหนุ่มสาวได้นั้นเอง 2.4 กลุ่มทฤษฎีความต่อเนื่อง เชื่อว่าผู้สูงอายุมีความสุขได้ต่อเมื่อได้ร่วมทำกิจกรรมหรือ ปฏิบัติตัวแบบที่เคยทำมาก่อนในอดีต บุคคลใดคุ้นเคยกับการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมากก็กระทำต่อไป บุคคลใดพอใจชีวิตที่สุขสงบ สันโดษ ก็อาจแยกตนเองออกมาอยู่ตามลำพัง ทฤษฎีนี้กล่าวถึงพฤติกรรม ของผู้สูงอายุอย่างกว้าง ๆ ว่าต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นในสั งคม เช่น การตายของสามีหรือภรรยา การเกษียณอายุ และรายได้ที่ลดลงเป็นต้น 2.5 กลุ่มทฤษฎีระดับชั้นอายุ ทฤษฎีนี้ศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นระหว่างขั้น อายุที่แตกต่างกัน โดยถืออายุเป็นเกณฑ์สากลในการกำหนดบทบาทหน้าที่สิทธิ ฯลฯ เช่นอายุที่ต้อง ทำบัตรประชาชน อายุที่ต้องเกณฑ์ทหาร อายุที่ต้องเกษียณ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงทฤษฎีกับอายุ โดยตรง 3. กลุ่มทฤษฎีทางจิตวิทยา เป็นทฤษฎีที่สามารถอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุมี บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบด้วย 3 ทฤษฎีย่อย ๆ ดังนี้ 3.1 กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพ มองว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขหรือมีความทุกข์นั้นขึ้นอยู่กับ เรื่องราวในอดีตและการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุถ้าผู้สูงอายุเติบโตมาด้วยความอบอุ่น มั่นคงมีความรักผู้อื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มักจะเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขสามารถอยู่กับลูกหลาน หรือผู้อื่นได้ในทางกลับกันหากผู้สูงอายุไม่เคยร่วมมือกับใครจิตใจคับแคบรู้สึกว่าตนเองทำคุณกับใคร ไม่ค่อยขึ้นมักจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีความสุขอันนำไปสู่ความเครียดได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3