การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
13 3.2 กลุ่มทฤษฎีความปราดเปรื่อง เชื่อว่าผู้สูงอายุยังปราดเปรื่อง และคงความเป็น นักปราชญ์มีความรู้อยู่ได้ด้วยความที่เป็นผู้ที่สนใจเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลามีการค้นคว้าและสนใจ ในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาทำให้ผู้มีลักษณะเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี และมีฐานะทางเศรษฐกิจดี พอเป็นเครื่องเกื้อหนุน 3.3 กลุ่มทฤษฎีของอีริกสัน เชื่อว่าการพัฒนาด้านจิตวิทยาสังคมของผู้สูงอายุนั้นเป็นช่วง ชีวิตที่ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มั่นคงหรือท้อแท้หมด กำลังใจ สำหรับบุคคลที่มีความรู้สึกว่าชีวิต นั้นมีคุณค่า ถ้ามีความมั่นคง ก็จะมีความรู้สึกพึงพอใจในผลของความสำเร็จจากช่วงชีวิตที่ผ่านมา เกิด ความรู้สึกสุขสงบทางใจและสามารถยอมรับได้ว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และไม่ต้องการให้มี ชีวิตยืดยาวออกไปอีก เกิดความท้อถอย สิ้นหวัง คับข้องใจ รู้สึกว่าต นนั้นไม่มีคุณค่า และ ความสามารถที่จะเผชิญกับภาวะสูงอายุลดน้อยลงด้วย 4. ทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการอยู่เสมอ และขั้นตอนการพัฒนาของมนุษย์ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มต้นเป็นขั้นตอนตั้งแต่ เกิด แก่และ ตายในที่สุด 2.1.3 พัฒนาการต่าง ๆ ของวัยผู้สูงอายุ 2.1.3.1 พัฒนาการด้านร่างกาย จากทฤษฎีชราภาพข้างต้นแสดงให้เห็นว่าในวัยผู้สูงอายุ ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกระบบในลักษณะเสื่อมถอย การเปลี่ยนแปลงภายนอกคือผมเปลี่ยน สีขาวมากขึ้น หรือที่เรียกว่าผมงอก มีรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า หลังโก่ง กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ เคลื่อนไหวร่างการช้าลง การทรงตัวไม่ดี การได้ยินเสื่อมลง การเปลี่ยนแปลงภายในร่างการที่สำคัญ คือความยืดหยุ่นตัวของเส้นเลือดลดลง มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของ ระดับฮอร์โมนในร่างกาย 2.1.3.2 พัฒนาการทางด้านอารมณ์ของผู้สูงอายุยังคงมีอารมณ์ในเรื่องความรัก ในบุคคล อันเป็นที่รักโดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวไม่ใช่ความรักแบบวัยรุ่นได้แก่ คู่สมรส บุตร หลาน และเมื่อ เกิดการสูญเสีย ผู้สูงอายุจะมีความเศร้าอย่างมากซึ่งจะมากกว่าคนทั่วไปด้วยความคิดที่หลากหลาย โดยจะมีผลกระทบต่อจิตใจ สุขภาพกาย สุขภาพจิต และพฤติกรรมของผู้สูงอายุค่อนข้างมาก อีกทั้ง ยังมีอารมณ์เหงา ว้าเหว่ ผู้สูงอายุบางรายอาจจะรู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลงเนื่องจากต้องพึ่งพา บุตรหลานในเรื่องการประกอบกิจวัตรประจำวันไม่เหมือนอดีตที่ผ่านมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่น ซึ่งมักแสดงอาการหงุดหงิด น้อยใจต่อ บุตรหลานอย่างเห็นได้ชัดเจน 2.1.3.3 พัฒนาการทางด้านสังคม ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของ “อิริคสัน” โดยผู้สูงอายุ อยู่ที่อยู่ในขั้นพัฒนาการขั้นที่ 8 คือมีความมั่นคง และความหมดหวังเป็นวัยที่สุขุม รอบคอบ ฉลาด ยอมรับความจริง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ให้บุตรหลาน และคนรุ่นหลัง มีความมั่นคงใน ชีวิตตรงกันข้ามกับผู้สูงอายุที่ล้มเหลวจะไม่พอใจในชีวิตที่ผ่านมาโดยไม่ยอมรับสภาพกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลาโดยรู้สึกคับข้องใจท้อแท้ในชีวิต สังคมของผู้สูงอายุ คือ สังคมในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมวัย แต่จากการที่กลุ่ม เพื่อนมีการตายจากกัน หรือต่างคนต่างอยู่ในครอบครัวของตน หรือจากปัญหาสุขภาพร่างกาย ทำให้ ไม่สามารถติดต่อกันได้ กิจกรรมของผู้สูงอายุจึงมักเป็นกิจกรรมการเลี้ยงดูหลาน ดูแลบ้านให้กับบุตร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3