การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14 หลานบางรายไปทำกิจกรรมที่วัด ทำบุญ ฟังธรรม บางรายเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เช่น เป็นสมาชิก ชมรมผู้สูงอายุ 2.1.3.4 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สมองจะฝ่อและมีน้ำหนัก ลดลง เลือดมาเลี้ยงสมองได้น้อย มีภาวะความดันโลหิตสูง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและจำนวนเซลล์ ลดลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อมหรือถูกทำลายไป โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า (Gray Matter) มักพบ อาการความจำเสื่อมโดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ปัจจุบัน หน่วยความจำล่าสุด(Recent memory) และความจะเฉพาะหน้า หน่วยความจำทันที (Immediate memory) ตึความทรงจำในอดีต หน่วยความจำระยะไกล (Remote memory) จะไม่เสียไป จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสะท้อนได้ว่า ความเข้าใจถึงลักษณะและธรรมชาติ ในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมไทย ซึ่งมีความสำคัญในแง่ของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ หรือเพื่อสร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุได้ 2.1.4 สภาพ ปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุ 2.1.4.1 สภาพของผู้สูงอายุ เมื่อพูดถึงสภาพของผู้สูงอายุจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน แต่ละช่วงอายุ มีผลต่อสภาพของบุคคลเป็นอย่างมาก (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร., 2544) ซึ่งได้กล่าวถึง สภาพด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุไว้ว่า สภาพด้านต่าง ๆ ต่างส่งผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ เป็นทอด ๆ ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. สภาพทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ระบบในร่างกายของผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงอวัยวะ ต่างๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อัตราการเผาผลาญในร่างกายลด น้อยลง การการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อทำให้เหี่ยวย่น การเปลี่ยนแปลงทางเดินโลหิตการเสื่อม ของ กระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในระบบสมองระบบย่อยอาหาร การขับถ่าย และ ระบบอื่น ๆ ของร่างกายทำให้ผู้สูงอายุรับโรคและเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เกิดปัญหาแก่ผู้สูงอายุ ครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในระยะเวลาที่ยาวนาน และ ภาวะทุพพลภาพทำให้เกิดปัญหาด้านค่าใช้จ่าย จิตใจและสังคมตามมา 2. สภาพทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ สภาพทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งเกิดจากการเสื่อมถอยของอวัยวะ ต่าง ๆ ความผิดปกติของระบบประสาทและสมองทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองและ ประสาทลดลง มีผลกระทบต่อระบบความทรงจำ เกิดอาการหลงลืม และความทรงจำย้อนกลับ สามารถจดจำ เหตุการณ์ในอดีตได้ดีกว่าเหตุการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการสับสน นอกจากนั้นสภาพการเจ็บป่วย และการสูญเสียด้านต่าง ๆ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สภาพทาง จิตใจมากมาย ดังนี้ 2.1 การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเนื่องจากบุคคลที่ใกล้ชิด เช่น คู่สมรส ญาติ สนิทเพื่อน เสียชีวิต หรือแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น ทำให้เกิดการซึมเศร้าอันเนื่องมาจากการพลัดพราก จาก บุคคลอันเป็นที่รัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3