การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
15 2.2 การสูญเสียสถานภาพทางสังคมเนื่องจากการออกจากงานหรือหมดภาระที่ ต้องรับผิดชอบ ทำให้รู้สึกไร้ค่า 2.3 การสูญเสียสัมพันธภาพในครอบครัวเนื่องจากบุตร ธิดา ส่วนใหญ่แยกตัว ออกไปสร้างครอบครัวใหม่ จากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดียวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สูงอายุกับบุตรหลานลดลง บทบาทในการให้คำอบรมสั่งสอนลดลง ผู้สูงอายุเกิดความว้าเหว่และรู้สึก ว่าตนไม่มีคุณค่า 2.4 จากการไม่ตอบสนองความต้องการทางเพศ ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียทาง จิตใจ อย่างรุนแรง เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเคมีของร่างกาย และวัฒนธรรมที่มีต่อเรื่อง เพศสัมพันธ์ของผู้สูงอายุว่าไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางเพศได้ทั้งที่มี ความต้องการทางเพศอยู่ ทำให้รู้สึกโดดเดียวและขาดความภูมิใจในคุณค่าของตน จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจทำให้ผู้สูงอายุมีสภาพที่อารมณ์เหงาซึม หวาดระแวง ท้อแท้ผิดหวัง มีปมด้อย ไม่ความหวาดระแวงว่าจะถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ดูแลเอาใจใส่ เกิด อารมณ์ ฉุนเฉียว ใจน้อย ขาดความยับยั้งชั่งใจ กลัวง่าย มองว่าตนเองไม่สำคัญ ไร้ความสามารถ และ ขาดความเชื่อมั่นในตนเองไป อาจพบอาหารโรคจิตที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เช่น การแสดงออกทาง อารมณ์ที่เศร้าซึม และคลุ้มคลั่งสลับกัน เกิดอาหารหูแว่ว เลอะเลื่อน สงสัย และสับสน อาการเสื่อม สลายเหล่านี้เกิดขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ทั้งในด้านความคิด สติปัญญา การตัดสินใจ และการ ควบคุมตนเอง 3. สภาพของสถานภาพทางด้านสงคมของผู้สูงอายุ ในอดีตผู้สูงอายุและครอบครัวประกอบด้วยบุตร หลาน และบุคคลอื่นไม่น้อยกว่า 3 รุ่นอายุ อาศัยด้วยกันในลักษณะครอบครัวใหญ่อันเป็นลักษณะครอบครัวขยายซึ่งสมาชิกทุกรุ่นมี ความรักใคร่ และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบันโครงสร้างครอบครัวกลายเป็นครอบครัวเดียว ประกอบด้วย บิดา มารดา และบุตรเท่านั้น ทำให้กิจกรรมในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป บางครั้งต้อง พึ่งพิงสถาบันจากภายนอก ในลักษณะการซื้อบริการ เช่น การเลี้ยงดูบุตร และการดูแลผู้สูงอายุ เป็น ต้น การซื้อบริการดังกล่าวส่งผลต่อสถานภาพของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีความ ลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยต้องพึ่งตนเองมากขึ้น ในสังคมก็มีความยกย่อง นับถือ ลดลง โดยสังคมปัจจุบันยกย่องผู้มีความรู้ความสามารถ และมีกำลังทรัพย์มากกว่าเคารพในความเป็นผู้มี อายุยืนยาว ผู้สูงอายุเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมเป็นผู้พึ่งพิงผู้อื่น ในฐานะผู้รับจากเดิม ในฐานะผู้ให้เกิดความคิดว่าตนเองหมดความสำคัญ เป็นภาระเรื้อรังของคนในครอบครัวและสังคม อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าผู้สูงอายุทุกคนเป็นสภาพดังที่กล่าวมา ในกลุ่มที่มีการเตรียมตัวเข้าสู่ ภาวะสูงอายุ จะสามารถปรับตัวได้ปกติกว่าบุคคลอื่น 4. สภาพของสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ จากการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เกิดความทันสมัยต่าง ๆ การเติบโต ของชุมชนเมืองส่งผลให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุไม่สามารถ ประกอบ อาชีพได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถหารายได้ได้จึงรู้สึกว่าตนเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3