การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
16 ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกิดความว้าเหว่ ทั้ง ๆ ที่ผู้สูงอายุอาจมีความต้องการรายได้มากกว่าช่วง กลางคน เช่น เกิดปัญหาสุขภาพต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ต้องการคนดูแล เนื่องจากตนเองไม่แข็งแรง นักวิชาการหลายท่านทำการศึกษาและพบว่า ผู้สูงอายุเสียค่าใช้จ่ายสำหรับ อาหาร และค่าใช้จ่ายในการดูแลด้านการแพทย์มากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นจึงมีความต้องการทางด้าน การเงินมากขึ้น ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากแหล่งทรัพยากรทางการเงิน เช่น การเกษียณอายุ การมีรายได้ จำกัด ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย อัตราดอกเบี้ยในธนาคารที่ลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบโดยตรงกับ รายได้ของผู้สูงอายุทั้งสิ้น จากการศึกษาสภาพด้านต่าง ๆ ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับสภาพทั้งทางด้านจิตใจ และด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ปกติ สภาพของผู้สูงอายุจึงคล้ายกับผู้เสมือน ไร้ความสามารถ ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ โรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลกระทบต่อสภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุด้วย นอกจากนั้นการสูญเสีย สถานภาพทางสังคม ย่อมกระทบต่อความรู้สึกทางจิตใจของผู้สูงอายุ เช่นกัน ดังนั้นการส่งเสริม กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้อง คำนึงถึงสภาพต่าง ๆ ของผู้สูงอายุเพื่อพิจารณาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการจัดกิจกรรมด้วย 2.1.4.2 ปัญหาของผู้สูงอายุ (สุมาลี สังข์ศรี,2540) อาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้เสนอถึงปัญหา ที่ผู้สูงอายุประสบ แบ่งเป็นประเด็นหลักที่สำคัญ ได้แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. ปัญหาด้านสุขภาพ เมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุ สภาพร่างกาย สรีระได้เปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมถอย ลง การทำงานของอวัยวะลดถอยลง ร่างกาย หรืออวัยวะที่ใช้งานมานานอาจเกิดความขัดข้องเจ็บป่วย โดยโรคที่พบในผู้สูงอายุนั้นเกี่ยวข้องกับทุกระบบของร่างกาย ทั้งตา หูระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ความดันโลหิต หัวใจ ระบบย่อยอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก 2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เมื่ออยู่ในวัยทำงาน บุคคลประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่าง เต็มที่แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว ผู้ที่ทำงานในระบบราชการรัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่าง ๆ ต้อง เกษียณอายุ ทำให้รายได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก หรือผู้ที่ยังไม่กำหนดเวลา เกษียณอายุก็ตาม ด้วยสภาพร่างกายที่ทรุดโทรม อ่อนแอลง สมรรถนะในการทำงานก็ลดลง ส่งผลมาถึงรายได้และอาชีพ เพราะฉะนั้นในช่วงวัยสูงอายุนี้สภาพการเปลี่ยนแปลงของรายได้มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุมาก ปัญหา เศรษฐกิจนั้นเป็นปัญหาสำคัญและใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ โดยพบว่าผู้สูงอายุในเมืองและชนบทจำนวน มากต้องอาศัยญาติพี่น้อง ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่มีที่พึ่งพาต้อง ดิ้นรนหาเลี้ยงตนเองต่อไปจนร่างกายไม่ไหว 3. ปัญหาทางด้านจิตใจ ปัญหาทางด้านจิตใจเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ 3.1 สาเหตุจากร่างกาย เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่เหมือนวัยหนุ่มสาว และ การทำงานของอวัยวะบางอย่าง เช่น สมองหรือต่อมไร้ท่อมีผลโดยตรงต่อจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุซึมเศร้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3