การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
17 ไม่กระฉับกระเฉง สับสน วิตกกังวล ไม่สบายใจ นอกจากนั้นการที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคภัย ทำให้ ผู้สูงอายุคิดมาก คิดว่าตนเองเป็นภาระผู้อื่น ต้องพึ่งพาผู้อื่น เป็นต้น 3.2 สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงการงาน ในวัยที่กำลังทำงาน บุคคลมีภาระหน้าที่มากมายไม่มีเวลาว่างมากเพราะต้อง รับผิดชอบหลายอย่างเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ภาระงานลดลงหรือบางคนเกษียณ หยุดทำงาน ทำให้มีเวลา ว่างไม่มีอะไรทำทำให้ผู้สูงอายุคิดมาก มองตนเองว่าเป็นคนไร้ค่า และปรับตัวไม่ทัน 3.3 สาเหตุจากครอบครัว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการอยู่กับครอบครัวญาติพี่น้อง ต้องการความอบอุ่น แต่ สภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน บัตรหลานจะต้องแยกครอบครัวหรือแยกออกไปประกอบอาชีพการงาน ที่อื่น ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุจึงรู้สึกว้าเหว่ ถูกทอดทิ้ง หมดกำลังใจคล้ายกับว่า ลูกหลานไม่ดูแลเอาใจใส่ 3.4 สาเหตุจากสภาพสังคม ในสมัยก่อนผู้สูงอายุถึงแม้ว่าจะพ้นจากหน้าที่การงานไปแล้วยังคงมีบทบาท เสมือนที่พึ่ง ที่ปรึกษาของคนหนุ่มสาวในการประกอบกิจการงานต่าง ๆแต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของ สังคมเปลี่ยนแปลงไป บทบาทนี้ ในส่วนของผู้สูงอายุ ดูเสมือนว่าถูกลดไปบ้าง ผู้สูงอายุเกิดความ น้อยใจเสมือนว่าถูกลดความสำคัญ 4. ปัญหาการปรับตัว ผู้สูงอายุเมื่อครั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนนั้นมีภารกิจประจำวันมากมาย โดยเฉพาะในด้านการประกอบอาชีพการงานหารายได้แต่เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องพ้นจากภาระงาน พ้นจากหน้าต่าง ๆ จากที่เคยติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ที่ร่วมงาน กลับต้องอยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุ ส่วนมากไม่สามารถรับได้กับสภาพที่กะทันหันเกินไป เพราะเมื่อพ้นจากหน้าที่การงานมาแล้ว ผู้สูงอายุ ต้องปรับตัวใหม่จึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีการวางแผน หรือเตรียมตัวมาก่อน 5. ปัญหาความไม่รู้ การไม่รู้ในที่นี้ หมายถึง การที่ผู้สูงอายุมีพื้นฐานการศึกษาต่างไม่มีโอกาสได้รับ ความรู้เพิ่มเติม ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จากการสำรวจ สภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทยของหน่วยงานต่าง ๆ และนักวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุไม่ได้รับการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนมากได้รับการศึกษาน้อย จบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 70 ยังไม่ สามารถอ่านเขียนหนังสือได้และพบว่าผู้สูงอายุไม่ได้รับข่าวสารข้อมูล ไม่ทราบว่ามีบริการทาง การแพทย์และสาธารณสุขจึงไม่ได้ไปขอรับบริการการที่ผู้สูงอายุมีความรู้น้อยเช่นนี้ ทำให้ผู้สูงอายุขาด ความรู้พื้นฐาน ขาดข้อมูลในที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ ไม่ว่าด้าน สุขภาพ อาชีพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษาน้อยเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาข้อมูล ข่าวสารเพิ่มเติม นอกจากนี้ ปัญหานี้ยังมีความเชื่อมโยงให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย จากการสำรวจสำมะโนประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติใน พ.ศ. 2545 พบว่า ปัญหาด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุมีระดับการศึกษาน้อย โดยพบว่าร้อยละ 90.7 จบ การศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น อีกทั้งยังมีอาชีพเกษตรกรรม รายได้ไม่เพียงพอทำให้ต้องหา เลี้ยงตนเอง สุขภาพไม่ดี และต้องอาศัยอยู่ตามลำพัง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3