การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
18 (เพ็ญแข ประจนปัจจนึก,2545) ได้ทำการศึกษาพบว่า ปัญหาหลักที่ผู้สูงอายุไทย เผชิญ อยู่นั้นประกอบด้วยประเด็นหลัก ๆ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ปัญหาด้านสุขภาพกาย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขพบว่ามี โรคที่คุกคามผู้สูงอายุมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน 2. ปัญหาด้านสุขภาพจิต พบมากในผู้สูงอายุเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจาก ครอบครัวขนาดใหญ่มาเป็นครอบครัวขนาดเล็ก จากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาลูกหลาน ผู้สูงอายุต้องคิดมาก เครียด และถูกทอดทิ้งอย่างรวดเร็ว 3. ปัญหาไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่วัยกลางคนได้การเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะมีการ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย บางครั้งทำให้คนปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด ซึมเศร้า โกรธง่าย มองโลก ในแง่ร้าย 4. ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชนบทและใน เมืองที่ลูกหลานต้องดิ้นรนหารายได้โดยทำงานในเมืองหลวง ซึ่งปัจจุบันยิ่งทวีความรุนแรง อัน เนื่องมาจากเศรษฐกิจตกต่ำ (พรเทพ มนตร์วัชรินทร์,2547)ได้ทำการวิจัยพบว่า ปัญหาที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญอยู่ ในขณะนี้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหา ทางด้านการศึกษา และเมื่อพิจารณาแล้วพบว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดคือปัญหาทางด้านการศึกษา เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการย่อมสามารถนำความรู้ที่ ได้รับไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้าน สติปัญญา ด้านเศรษฐกิจ ด้านคุณธรรม และด้านสงคมได้เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้นได้ (ศรวณีย์ กิจเดช,2547) เสนอว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาหลายด้าน เช่น ปัญหาสุขภาพ ร่างกายที่เสื่อมถอย ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่มีรายได้เปลี่ยนแปลงไปและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลจำนวนมาก ปัญหาทางด้านจิตใจ ได้แก่ การปรับตัว ความเครียด การเปลี่ยนแปลง ทั้ง ทางร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญหาเรื่องการไม่รู้หนังสือเนื่องจากได้รับการศึกษาน้ อย และไม่มี หน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ 2.1.4.3 ความต้องการของผู้สูงอายุ ในการจัดกิจกรรมการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ จากบุคคลหลายฝ่าย รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐบาล หน่วยงานเอกชน องค์กรทองถิ่น ชุมชน ซึ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุด้วย ซึ่งมีผู้เสนอความต้องการของผู้สูงอายุไว้ มากมาย ดังนี้ (สมพร เทพสิทธา,2536) สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงความต้องการของผู้สูงอายุว่า ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่องบทบาทขององค์กรเอกชนในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ สรุปได้ 5 ด้าน ดังนี้ 1. ความต้องการของผู้สูงอายุทางร่างกาย ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ และ ปัจจัยสี่ของผู้สูงอายุ 2. ความต้องการของผู้สูงอายุทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ความต้องการในการประกอบ อาชีพ ต้องมีรายได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3