การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 3. ความต้องการของผู้สูงอายุในด้านความรู้ ได้แก่ ความต้องการความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับวัยสูงอายุ เพื่อนำมาใช้ปรับตัวในได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เท่าทันเหตุการณ์ในปัจจุบัน 4. ความต้องการทางด้านสังคม ได้แก่ ความต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือจาก สังคมตลอดจนการทำตนเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่น 5. ความต้องการของผู้สูงอายุทางด้านจิตใจ ได้แก่ ความต้องการทางด้านความ รัก ทางด้านความอบอุ่น การดูแลได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ความกตัญญู และต้องการมีสิ่งยึด เหนี่ยวจิตใจมากกว่าบุคคลทั่ว ๆ ไป (สุธีรา นุ้ยจันทร์,2530) ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด พัทลุง ได้กล่าวถึงความต้องการของผู้สูงอายุว่ามี 6 ประการคือ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความต้องการปัจจัยพื้นฐานสี่ประการ ได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค 2. ความต้องการด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความต้องการอาชีพเพื่อการมีงานทำให้ สามารถพึ่งพาตนเองและเพื่อความมั่นคงในชีวิตเท่าที่ควร 3. ความต้องการด้านจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ ความเคารพความกตัญญูจากบัตรหลาน 4. ความต้องการทางสังคม ได้แก่ ความต้องการได้รับการยอมรับนับถือจาก ชุมชน สังคมและการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน 5. ความต้องการลดการพึ่งพาผู้อื่น ได้แก่ การพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดก่อน ไม่ ต้องการทำตัวเป็นภาระของผู้อื่น จนกระทั่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แล้วจึงพึ่งผู้อื่น 6. ความต้องการประสบการณ์ใหม่ ๆ ในสงคมผู้สูงอายุต้องการได้รับบริการ ข้อมูล ข่าวสารเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม (สุรกุล เจนอบรม,2534) ได้เสนอว่า ความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุมี 5 ประการคือ 1. ความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ คือความต้องการได้รับความช่วยเหลือ ทางด้านการเงิน จากบุตรหลาน เครือญาติ และหน่วยงานของรัฐ 2. ความต้องการในเรื่องที่อยู่อาศัย โดยให้ผู้สูงอายุมีที่พักพิง เช่น บ้านของตนเอง บ้านของบุตรหลาน หรือญาติพี่น้องหรือในสถานสงเคราะห์ของรัฐและเอกชน 3. ความต้องการในด้านอนามัย ผู้สูงอายุมักมีสภาพร่างกายที่อ่อนแอครอบครัว และบุตรหลานควรเอาใจใส่ 4. ความต้องการทางด้านการงาน การทำงานมีความหมายต่อผู้สูงอายุ เพราะ เป็นที่มาของรายได้และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 5. ความต้องการความรัก ความเคารพ ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ เพราะ ผู้สูงอายุต้องการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวต้องการความรักและเคารพนับถือจากคนในครอบครัว Maslow (1970) ได้กล่าวถึงระดับความต้องการของมนุษย์ทุกวัย ซึ่งมนุษย์ทุก คนมีความต้องการ และเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่ เป็นแรงจูงใจสำหรับ พฤติกรรมนั้นต่อไปอีก โดยความต้องการของมนุษย์แบ่งได้เป็นลำดับขั้น สรุปได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3