การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

20 ระดับที่ 1 ความต้องการทางกาย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษา โรค เป็นต้น ระดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย ได้แก่ การหายจากความเจ็บปวด การมี บ้านอยู่ การหายจากความหวาดกลัว เป็นต้น ระดับที่ 3 ความต้องการความรักและการยอมรับได้แก่การเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ คณะ เป็นต้น ระดับที่ 4 ความต้องการในเกียรติยศและความต้องการมีชื่อเสียง ได้แก่ ความ ต้องการความมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากสังคม เป็นต้น ระดับที่ 5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จ หรือความต้องการเข้าใจและเป็น ตัวของ ตัวเองอย่างถ่องแท้ เช่น การแสดงความสามารถที่มีอยู่สูงสุดของตนเองให้ผู้อื่นในสังคม เป็น ต้น สรุปได้ว่าความต้องการของมนุษย์ตามที่มา Maslow ได้กล่าวไว้มี 5 ระดับ ประกอบด้วยความต้องการระดับที่ 1 และระดับที่ 2 เป็นความต้องการส่วนบุคคล ส่วนระดับที่ 3 และระดับที่ 4 เป็นความต้องการทางสังคม ส่วนระดับที่ 5 เป็นความต้องการทางด้านสติปัญญา (ฐิติ มา ดวงวันทอง,2560) 2.2 แนวคิดทฤษฎีและการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การบริหารการจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นระบบเป็นแนวทางในการลดจำนวน ผู้ต้องขังที่มีประสิทธิภาพซึ่งจำเป็นจะต้องมีกลไกการดำเนินการที่เป็นระบบเพื่อที่จะเข้าใจสภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาจากหลักการและแนวคิดทฤษฎีของกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญากับการบริหารการจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหลาย ๆ ด้านจนนำไปสู่ การเลือกช่องทางในการบริหารจัดการคดีที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหา สำหรับเนื้อหาใน บทความนี้จะนำเสนอหลักการและแนวคิดทฤษฎีของกระบวนการยุติธรรมทางอาญากับการบริหาร การจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยลำดับ ดังนี้ หลักการและแนวคิดทฤษฎีของกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาเป็นหลักการตรวจสอบค้นหา ความจริงเป็นการตรวจสอบค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ความผิดถูกหรือความบริสุทธิ์ของ บุคคลในการกระทำความผิดอาญาหรือไม่ และนำไปสู่การใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาในการกำหนดโทษ เพื่อให้ผลกับบุคคลนั้น กล่าวคือ การพิพากษาลงโทษบุคคลต้องคำนึงถึงการลงโทษที่เหมาะสมกับ บุคคลนั้นเป็นหัวใจหลักหรือเป้าหมายของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดังนั้น กระบวนการที่จะทำ ให้บรรลุเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยระบบของกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีอยู่สอง ระบบกล่าวคือหนึ่งระบบไต่สวน และสองคือระบบกล่าวหา (คณิต ณ นคร, 2549) 1. ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) เป็นระบบที่มีมาก่อนระบบกล่าวหาโดยเป็นระบบที่ไม่ มีการแยกหน้าที่ในการสอบสวนหรือหน้าที่ในการฟ้องร้องคดีระหว่างหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา คดีออกจากกันโดยให้องค์กรเดียวกันเป็นผู้ทำหน้าที่ทั้งสองหน้าที่กรณีนี้จึงมีแต่ “ผู้ไต่สวน” และ“ผู้ ถูกไต่สวน” เท่านั้นผู้ถูกกล่าวหาจะตกอยู่ในฐานะเป็น “กรรมในคดี”นั้นเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3