การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

21 2. ระบบกล่าวหา (Accusatorial System) เป็นระบบที่แยกอำนาจหน้าที่ของการสอบสวน ฟ้องร้องและอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีออกจากกันให้องค์กรแต่ละองค์กรมีอำนาจ ต่างหากจากกันคนละองค์กรเป็นผู้ทำหน้าที่ และทำให้ฐานะของผู้ถูกกล่าวหาเป็น “ประธานในคดี” ระบบกล่าวหาจึงเป็นระบบการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทันสมัยเพราะสอดรับเข้ากับมาตรฐานสากลใน การพิจารณาพิพากษาคดี (International Convenant on Civil, and Political Rights. (ICCPR)) ภายใต้หลักการต่าง ๆ เช่น หลักนิติธรรม หลักสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลักศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ เป็นต้น ในปัจจุบันจึงเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างมากสามารถนำไปสู่การลงโทษการกำหนดโทษที่ เหมาะสมกับบุคคลได้เป็นอย่างดี ระบบกล่าวหา เป็นระบบการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เหมาะสมกับ “หลักตรวจสอบค้นหา ความจริง” และสอดคล้องกับ “หลักการลงโทษให้ได้เหมาะสมกับบุคคล” ด้วย กล่าวคือการ ตรวจสอบค้นหาความจริงมี 2 เรื่อง (ธานี วรัภทร์, 2555) คือ 1. ความจริงที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ข้อหา ฐานความผิด 2. ความจริงที่เป็นประวัติของบุคคลผู้ดำเนินคดี ประวัติความเป็นมา ความประพฤติเป็นอาจิณ ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้ ทางตำราเรียกว่า “วัตถุของคดีอาญา” หรือที่เราเรียกว่า ข้อหา คือข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์กันในคดีของผู้ต้องหา ฟ้อง ก็เป็นวัตถุแห่งคดี และยังใช้ไปถึงชั้นพิจารณาคดี และใช้ประโยชน์ในชั้นบังคับโทษจำคุกด้วย โดยประเทศ หลาย ๆ ประเทศในโลกได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินคดีอาญาจากรูปแบบระบบไต่สวนมาเป็นรูปแบบใน ระบบกล่าวหา ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบรูปแบบกล่าวหา (ธานี วรภัทร์, 2562) เมื่อพิจารณาข้อมูลดังกล่าวแล้วพบว่ากระบวนการในการพิจารณาคดีจะถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่เป็นการสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง และส่วนที่เป็นการพิจารณาตัดสินคดี โดยผู้ที่ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานความเชื่อมโยงในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นคนสำคัญโดยต้องเกี่ยวข้องทั้งใน ส่วนแรกและส่วนที่สองคือ “พนักงานอัยการ” ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสำนวนในการสอบสวนคดีมา ตั้งแต่ต้นในการประสานกับพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นไปตามหลัก “อำนาจสอบสวนฟ้องร้อง เป็น อำนาจเดียวกัน และกระบวนการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีร่วมกับศาล การทำงานของ พนักงานอัยการจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการส่งต่อข้อมูล ข้อเท็จจริงของข้อหาในคดีข้อหาใน สำนวน และข้อมูลของบุคคลผู้กระทำความผิดเป็นตัวเชื่อมระหว่างพนักงานสอบสวน และส่งต่อไปยัง ศาลได้อย่างครบถ้วนเพื่อความถูกต้องตรงตามความจริงรวมทั้งการใช้ดุลพินิจในการใช้มาตรการ บังคับทางอาญากับบุคคลนั้นได้อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การใช้โทษทางเลือกให้เหมาะสมกับตัว บุคคลต่อผู้กระทำความผิดในแต่ละรูปเรื่องของคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป (Dando, Shigemitsu, 1965) การที่พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำหน้าที่ในการ สืบสวน และในการช่วยเหลือการสอบสวน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีการ ตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันในการใช้อำนาจในการสอบสวนฟ้องร้องคดี ทำให้สามารถช่วยคุ้มครอง สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดีจากความรู้ความสามารถทางกฎหมายของพนักงาน อัยการ และยังป้องกันการทุจริตในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในส่วนของต้นทางของกระบวนการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3