การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
22 ได้อีกระดับหนึ่งด้วยนั้นเอง อีกทั้งยังลดปัญหาในการใช้ความรุนแรง การซ้อมทรมาน ที่ทำให้ กระบวนการในชั้นนี้ล้มเหลว เกิดความผิดพลาด สำหรับประเทศไทยเราได้นำ “ระบบกล่าวหา” มาใช้ แต่ของเราแยกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น การสอบสวน การฟ้องร้องและการพิจารณาพิพากษา ปรากฏตามแผนภาพดังนี้ (ธานี วรัภทร์ , 2562) จะเห็นได้ว่าจากการพิจารณาถึงระบบการพิจารณาคดีพบว่าได้มีอยู่ 2 ระบบด้วยกันซึ่งใน ประเทศไทยก็จะมีทั่ง 2 ระบบ โดยปะปนกันไปตามศาลที่ใช้ซึ่งกระบวนการยุติทางอาญาก็จะอยู่ใน อำนาจของศาลยุติธรรมโดยเฉพาะศาลชั้นต้นไม่ว่าจะเป็นศาลจังหวัดหรือศาลแขวงก็ตามใช้ระบบ กล่าวหาซึ่งเป็นระบบที่ให้ความสำคัญในพยานหลักฐานโดยศาลให้คู่ความนำมาแสดงหรือต่อสู้กันซึ่ง ในพยานเหล่านั้นก็อาจจะมีทั้งพยานวัตถุหรือพยานบุคคลโดยหากเป็นพยานบุคคลแล้วนั้น ในส่วนที่ ผู้วิจัยได้คำนึงถึงปัญหาก็คือตามที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่หนึ่งนั้นก็คือปัญหาการเปลี่ยนแปลงทาง โครงสร้างประกรการที่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นในสังคมเท่ากับว่าอาจจะทำให้บุคคลเหล่านี้เข้ามาสู่การ กระทำความผิดได้ง่ายขึ้นทั้งในความตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดในอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี โดยจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในคำให้การ วิธีการได้ซึ่งพยานหลักฐานของผู้ต้องหาสูงอายุก็ เพราะเนื่องจากความชราคือความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจ ร่วมไปถึงทางสมอง บางครั้งอาจจะ พรั่งเผลอในการคำให้การหรืออาจจะโดยข่มขู่โดยเจ้าพนักงานโดยเฉพาะในชั้นสอบสวน ในชั้นจับกุม ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นต้นน้ำที่สำคัญของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาวิธีการจึงต้องมีความ เหมาะสมเพราะหลักการดำเนินคดีอาญาก็เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องให้ได้มาซึ่งความจริง บุคคลยัง เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้มีการพิสูจน์แล้วนั้น อนึ่งจากหลักการและแนวคิดทฤษฎีของกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาเป็น “หลักการ ตรวจสอบค้นหาความจริง” (Examination Principle) หลักการนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ การตรวจสอบค้นหาความจริงตามระบบตรวจสอบข้อเท็จจริง (Inquisitorial System) ซึ่งใช้อยู่ใน กลุ่มประเทศซีวิลลอว์ (Civil Law) และการตรวจสอบค้นหาความจริงในระบบต่อสู้ระหว่างคู่ความ (Adversariat System) ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศคอมมอนลอว์ (Common Law) ซึ่งมีรายละเอียดโดย ลำดับ ดังนี้ 1. กฎหมายซีวิลลอว์ ระบบตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นระบบการค้นหาความจริงที่จัดอยู่ในระบบ กฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เป็นระบบกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด มีที่มาจากระบบกฎหมายโรมัน (Roman Law) การดำเนินคดีอาญาในระบบนี้มีอิทธิพลในประเทศภาคพื้นยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี โดยมีวิวัฒนาการเริ่มแรกเกิดจากการชำระความของพระโรมันคาทอลิกในสมัยโบราณ โดยมี คู่กรณีสองฝ่าย คือฝ่ายที่ไต่สวน หรือผู้กล่าวหา กับฝ่ายที่ถูกไต่สวน หรือผู้ถูกกล่าวหา การพิจารณา คดีของระบบนี้ใช้ผู้พิพากษาเป็นผู้ทำการไต่สวน ดังนั้น ผู้พิพากษาจึงมีบทบาทในการสืบหา ข้อเท็จจริงและสืบพยานมากกว่าศาลในระบบกล่าวหาหรือระบบต่อสู้ ในระบบนี้ศาลอาจเรียกพยาน มาสืบเองหรือถามพยานเองหากมีคนอื่นประสงค์จะถามต้องขออนุญาตศาลก่อนทนายความอัยการ เป็นเพียงผู้ช่วยศาลในการหาข้อเท็จจริงเท่านั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3