การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

23 กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของระบบนี้ แต่เดิมนั้นไม่ได้แยก “การสอบสวนและฟ้องร้อง” ออกจาก “การพิจารณาและพิพากษาคดี” ลักษณะของการดำเนินคดีไม่มีโจทก์และจำเลยมีแต่เพียงผู้ ไต่สวน ซึ่งหมายถึง ศาลหรือผู้พิพากษาเป็นผู้ดำเนินคดีอาญาตั้งแต่เริ่มคดีจนกระทั่งตัดสินคดี และมี “ผู้ถูกไต่สวน” ซึ่งมีฐานะและสภาพเป็นเพียง “วัตถุ” แห่งการซักฟอกในคดีเท่านั้น ผู้ไต่สวนมีหน้าที่ ค้นหาความจริงที่เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกไต่สวน และค้นหาพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นผลร้ายกับผู้ถูกไต่สวน ด้วย ซึ่งสภาพของผู้ถูกไต่สวนจึงเป็น “กรรมในคดี” อีกทั้งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีมีอำนาจ อย่างไรจำกัดในการไต่สวนคดีและผู้ถูกกล่าวหาจะไม่ได้รับการปรึกษาจากทนาย หรือได้รับความ คุ้มครองจากข้อสันนิษฐานที่ว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำ ความผิดผู้ถูกไต่สวนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากหลักการให้การที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองรวมถึงสิทธิอื่น ใดที่บุคคลดังกล่าวควรจะได้รับ จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้จึงนำมาสู่การทรมานร่างกายของผู้ถูกไต่สวน ให้รับสารภาพ โดยเกิดขึ้นมากในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่นในทวีปยุโรปในสมัยนั้น ในส่วนรูปแบบการบริหารจัดการคดีขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง องค์กรที่ทำ หน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง เช่น ตำรวจ อัยการศาล ต่างก็มีหน้าที่ร่วมกันในการค้นหาความจริง ศาล ในระบบนี้จะเข้ามาสอบถามค้นหาความจริงด้วยตนเองซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับระบบกล่าวหาหรือ ระบบต่อสู้ของคู่ความซึ่งศาลจะเข้ามาก้าวก่ายคดีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาโดยองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในคดีอาญาในระบบนี้ จะมีลักษณะของการสร้างลักษณะที่เป็นภาวะวิสัยโดยองค์กรที่เข้ามาเกี่ยวข้องจะต้องมีความเที่ยง ธรรม ไม่ลำเอียง และไม่เข้าข้างฝ่ายใด โดยให้มีกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่าง องค์กรอย่าง เคร่งครัด อีกทั้งให้ความเชื่อมั่นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างมากในการตรวจสอบพยานหลักฐานเพื่อ พิสูจน์ความจริงของคดี ทั้งตำรวจและอัยการต่างก็มีความสำคัญและได้รับความไว้วางใจในบทบาท การตรวจสอบค้นหาความจริง โดยเฉพาะศาลมีบทบาทอย่างสูงในการรวบรวมเอกสารเพื่อนำมา พิจารณาเกี่ยวกับคดี และทำหน้าที่เรียกพยานมาสืบ ตลอดจนเป็นผู้นำในการสืบพยาน ทั้งใน กระบวนการตรวจสอบคดีในชั้นก่อนฟ้องและกระบวนการตรวจสอบคดีในชั้นหลังฟ้อง (อิงครัต ดล เจิม, 2563) 2. กฎหมายคอมมอนลอว์ระบบต่อสู้ระหว่างคู่ความนี้ใช้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย คอมมอนลอว์ซึ่งมีที่มาจากระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ และใช้อยู่ในประเทศที่เป็นรัฐในอาณา นิคมของอังกฤษ อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ระบบนี้ยึด หลักการที่ว่า “คู่ความมาศาลในฐานะเท่าเทียมกัน” ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าศาลจะต้องวางตัวเป็น กลางมิให้คู่ความเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นระบบกฎหมายที่ถูกปรุงแต่งโดยศาลหรือผู้พิพากษาโดยการวาง ข้อเท็จจริงที่เกิดเป็นข้อพิพาทแล้วศาลวางหลักเกณฑ์เพื่อเป็นเหตุผลในการชี้ขาดตัดสินคดี โดยมี ลักษณะเน้นทางปฏิบัติมาว่าทฤษฎีของกฎหมาย ซึ่งทำให้กฎหมายถูกพัฒนาไปเองภายใต้หลัก “เหตุผลในคำพิพากษา” กฎหมายจะมีลักษณะไม่เป็นระเบียบ และไม่สอดคล้องกันและเข้าใจได้ยาก แต่ลักษณะสำคัญของระบบกฎหมายดังกล่าวได้คือมีความยืดหยุ่นอันเนื่องจากไม่ได้ยึดมั่นในตัวอักษร จนเกินไปรูปแบบการตรวจสอบคดีขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยลักษณะการ ดำเนินคดีเริ่มต้นจากการที่เอกชนกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาและฟ้องร้องให้ศาลตัดสินใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3