การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

24 ขณะที่คู่ความฝ่ายหาฟ้องร้องเพื่อให้มีการเยียวยา ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิด คู่ความอีกฝ่ายมีสิทธิเสนอข้อต่อสู้เพื่อหักล้างข้อกล่าวหานั้นในฐานะคู่ความที่มีสิทธิเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ โจทก์ผู้ฟ้องคดีอาจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ หรือประชาชนซึ่งอาจเป็นใครก็ได้ หน้าที่ในการ ค้นหาความจริงเป็นเรื่องที่ฝ่ายผู้กล่าวหานำพยานหลักฐานมาสืบต่อศาล (อิงครัต ดลเจิม,2561) 2.2.1 หลักการดำเนินคดีอาญา มี 3 หลักดังนี้ (คณิต ณ นคร, 2549) 1. หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน เป็นหลักการดำเนินคดีอาญาที่มีมาแต่เดิม เป็น หลักการดำเนินคดีโดยผู้เสียหายเอง มีรูปแบบคล้ายกับการดำเนินคดีแพ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการ ดำเนินคดีอาญาแบบที่มีคู่ความ 2. หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน เป็นหลักการดำเนินคดีอาญาที่ถือว่าประชาชน ทุกคนเป็นผู้มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นหลักการดำเนินคดีอาญาที่เกิดมาพร้อม ๆ กับการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน ประชาชนทุกคนมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ โดยไม่คำนึงว่าผู้ฟ้องจะ เป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่จึงมีคู่ความในลักษณะของการต่อสู้ มีการสืบพยานเป็นไปในรูปแบบ “การถามค้าน” ซึ่งสอดคล้องกับ “หลักการต่อรองคำรับสารภาพ” 3. หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ เป็นหลักการที่ถือว่ารัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษา ความสงบเรียบร้อยในสังคมจึงไม่มีคู่ความ และอำนวยความยุติธรรมโดยรัฐ พนักงานอัยการจึงไม่เป็น คู่ความในเนื้อหา หน่วยงานที่ดำเนินคดีฝ่ายรัฐทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทุกหน่วยงานจะต้องมีความกระตือรือร้นในการตรวจสอบข้อเท็จจริง การดำเนินคดีอาญาของ หน่วยงานของรัฐจึงจะต้องมีความเป็นรูปธรรมเป็นวิสัยเพราะกระบวนการยุติธรรมอยู่ได้ด้วยความ เชื่อถือของประชาชน รัฐไม่ได้ผูกขาดการดำเนินคดีอาญาไว้แต่ผู้เดียวแม้ประเทศที่ถือหลัก “การ ดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ” โดยเคร่งครัดก็มีการผ่อนคล้ายให้เอกชนฟ้องคดีได้บ้างเช่นกันแต่จะจำกัด ประเภทและฐานความผิดไว้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทย ปัจจุบันรัฐไม่ได้ผูกขาดการดำเนินคดี อาญาไว้แต่ผู้เดียว โดยเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายดำเนินคดีได้ด้วยนั้นเอง การที่กฎหมายให้ผู้เสียหายมี อำนาจดำเนินคดีอาญาก่อให้เกิดปัญหามากมายหลายประการ เช่น การทิ้งฟ้อง เป็นต้น 2.2.2 หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญา หลักเกณฑ์วิธีพิจารณาความอาญามีความสำคัญและเป็นหลักในการกำหนดทิศทางอัน นำไปสู่ระบบพิจารณาคดีอาญาที่ดีซึ่งมีหลักหลายประการดังนี้ (คณิต ณ นคร, 2549) 1. หลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา การตรวจสอบค้นหาความจริงเป็นหน้าที่ของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อพิสูจน์ความจริงแท้ในวัตถุแห่งคดีอาญาให้ปรากฏให้ได้ องค์กรใน กระบวนการยุติธรรมทุกฝ่ายของภาครัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการร่วมกัน ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาไทยปรากฏดังนี้ 1.1 พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหา โดยไม่ผูกมัดกับคำ ขอหรือคำร้องของผู้ใดตามหลักการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 มาตรา 98 และมาตรา 138 พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหา เพื่อทราบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3