การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

25 ความผิดหรือบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ในวัตถุแห่งคดีอาญาสองประการคือข้อเท็จจริงในการกระทำ ความผิดและข้อเท็จจริงของตัวผู้กระทำความผิด 1.2 พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 ซึ่งตามมาตรา 143 พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้อง ตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหาในการตรวจสอบสำนวนจากพนักงานสอบสวน ค้นหาความจริงแท้ ในความผิดหรือบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา พนักงานอัยการมอำนาจสั่งตามที่เห็นควรให้พนักงานสอบสวน ดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งได้ แสดงถึงอำนาจตามกฎหมายใน การสอบสวนของพนักงานอัยการ 1.3 ศาลก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบค้นหาความจริงในเนื้อหาเช่นเดียวกัน ต้องตรวจสอบ ค้นหาความจริงแท้ของเรื่องจนเป็นที่เพียงพอต่อการใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 228 ระหว่างพิจารณาโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอศาลมีอำนาจ สืบพยานเพิ่มเติม จะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ มาตรา 229 ศาลเป็นผู้สืบพยาน จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้ แล้วแต่เห็นควรตาม ลักษณะของพยาน มาตรา 175 เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ถ้าเห็นสมควรมีอำนาจเรียกสำนวนการ สอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้การตรวจสอบค้นหาความจริงแท้ในเนื้อหา ในชั้นนี้มีความสำคัญมากเพราะนำไปสู่การตัดสินคดี กระทบต่อสถานะของบุคคลว่าเป็นผู้กระทำ ความผิดอาญาหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับชั้นของตำรวจและพนักงานอัยการ เมื่อพิจารณาในต่างประเทศบทบาทการค้นหาความจริงในชั้นเจ้าพนักงาน เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์รัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น พบว่า มีกลไกในการร่วมกันตรวจสอบค้นหา ความจริงและร่วมกันคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกล่าวหา ต่างจากประเทศไทย จากมุมมองของนักกฎหมายใน ภาคพื้นทวีปยุโรปที่มีต่อธรรมชาติของการสอบสวนที่ว่า “การสอบสวนรวบรวมข้อเท็จจริงเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการในการฟ้องร้อง” ซึ่งมุมมองดังกล่าวส่งผลถึงกรอบในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน ระหว่างพนักงานอัยการและตํารวจ กล่าวคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้มอบหมายให้การ ดูแลการสอบสวน และการดําเนินคดีผู้ต้องสงสัยขึ้นอยู่กับอัยการ ส่วนพนักงานตํารวจเป็นผู้ช่วย รวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น การสอบปากคำ การลงพื้นที่รวบรวมพยานหลักฐาน เป็นต้น (ฉัตรชัย ยุระพันธุ์ และคณะ, 2563) 2. หลักฟังความทุกฝ่าย เป็นหลักที่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาที่จะต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาได้ ผู้ ถูกกล่าวหามี “สิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้” เป็นสิทธิหนึ่งที่ผู้ถูกกล่าวหาในอันที่จะสามารถใช้ต่อสู้คดี ประการสำคัญคือผู้ถูกกล่าวหาต้องรู้ว่าเขาถูกกล่าวหาว่าอย่างไร เพื่อความยุติธรรมต่อตัวผู้ถูกกล่าวหา ในการที่จะได้มีโอกาสต่อสู้แก้ไขข้อกล่าวหาได้อย่างเต็มที่เพราะในระบบกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา ถูกยก ฐานะเป็น “ประธานในคดี” หลักฟังความทุกฝ่ายปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเนื้อหาสาระของหลักการนี้ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 คือ “การสอบสวนปากคำผู้ต้องหา” ก่อนเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเขาถูกกล่าวหาว่าอย่างไร เพื่อจะได้มีโอกาส โต้แย้งข้อกล่าวหาได้ ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเมื่อจะฟ้องเท่านั้นเสมอ เป็นหลักฟังความทุกฝ่าย หลักฟัง ความทุกฝ่ายเป็นหลักการที่กฎหมายได้ให้ความสำคัญมากเพราะ “หลักฟังความทุกฝ่าย” ต้องกระทำ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3