การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
26 เพื่อให้ผู้ต้องหา จำเลย ได้รู้และเข้าใจสิ่งที่รัฐกำลังดำเนินการกับเขา เพื่อเขาจะได้มี โอกาสในการ อธิบาย หรือต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ 3. หลักวาจา หมายถึง การดำเนินการทุกอย่างจะต้องกระทำด้วยวาจา จึงจะสามารถ นำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาได้ การให้การเป็นหนังสือก็ต้องสอบวาจากันอีกครั้ง กล่าวคือทุก อย่างต้องตรวจสอบด้วยวาจาก่อนเป็นการเปิดโอกาสให้การอธิบาย เพื่อให้ความใจในทุกกรณีซึ่งจะทำ ให้อำนวยความยุติธรรมได้ดี หากขาดความเข้าใจก็ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมที่ดีได้ ดังนั้น ศาล จะพิจารณาได้เฉพาะข้อเท็จจริงพยานหลักฐานที่ได้นำเสนอไว้ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาเท่านั้น จะไม่ใช้ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นพื้นฐานในการตัดสินคดี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาแสดงถึงหลักวาจาก็มี เช่น มาตรา 11 มาตรา 172 และมาตรา 237 ดังนี้ มาตรา 11 บันทึก หรือถ้อยคำสำนวน ให้เจ้าพนักงาน หรือศาลอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้า มีข้อความแก้ไข ทักท้วงหรือเพิ่มเติม ให้แก้ให้ถูกต้องหรือมิฉะนั้นก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลง ลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้องแล้ว ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึก หรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถหรือไม่ยอมลง ให้ บันทึก หรือรายงานเหตุนั้นไว้ มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณา ต่อไป มาตรา 237 บันทึกคำเบิกความพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณานั้น ให้ศาลอ่านให้ พยานฟังต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ในกรณีดังบัญญัติไว้ในมาตรา 165 วรรคสาม 4. หลักพยานโดยตรง หลักพยานโดยตรงมีหลักอยู่ 2 ประการ คือ การสืบพยานเป็น หน้าที่ของศาล และศาลต้องวินิจฉัยตามเหตุผลที่ได้จากการสืบพยาน 4.1 การสืบพยานเป็นหน้าที่ของศาล ผู้พิพากษาที่เป็นคนทำคำพิพากษาต้องเป็นผู้ สืบพยานและรับรู้ข้อมูลพยานหลักฐานต่าง ๆ ด้วย ตนเอง ตามบทบัญญัติมาตรา 229 ศาลเป็นผู้ สืบพยาน จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้ แล้วแต่เห็นควรตามลักษณะของพยาน การสืบพยานต้อง กระทำโดยตรง คำว่า “พยานโดยตรง” หมายความว่า ศาลต้องวินิจฉัยคดีตามเหตุผลที่ได้มาจากการ สืบพยาน ตามหลักพยานโดยตรงการสืบพยานจะให้ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าของคดีกระทำการแทนไม่ได้ 4.2 ศาลต้องวินิจฉัยตามเหตุผลที่ได้จากการสืบพยาน เหตุผลที่ได้จากการสืบพยานต่าง ๆ ในคดีนั้น ๆ เท่านั้นที่ศาลจะนำมาพิพากษาคดีได้ จะใช้บันทึกที่จดไว้แทนการมาเบิกความไม่ได้ พยาน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ต้องมาให้การต่อศาล ตามมาตรา 243 วรรคสอง 5. หลักเปิดเผย หมายความว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาและสืบพยานใน ศาลได้อันเป็นไปตามหลักนิติรัฐที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตย แม้การพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งจะ กระทำในห้องพิจารณา รัฐก็ต้องจัดห้องพิจารณาให้มีขนาดที่เหมาะสมไม่เป็นอุปสรรคต่อประชาชนผู้ เข้าฟังการพิจารณาคดีอันเป็นการขัดต่อ “หลักเปิดเผย” นอกจากนั้นการที่คดีอาญาต้องพิจารณาโดย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3