การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ค บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อ ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนาแนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาสูงอายุในชั้นก่อนฟ้อง คดีอาญา ชื่อ-ชื่อสกุลผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นายยุทธชัย ด้วงสวัสดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ ทองขะโชค ปริญญาและสาขาวิชา : ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ปีการศึกษาที่สำเร็จ : 2565 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาใน ชั้นก่อนฟ้องคดีสำหรับผู้ต้องหาที่สูงอายุ โดยศึกษากฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องถึงสิทธิของผู้ต้องหาดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การ อำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัด การสอบสวนคดีอาญา และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ใน ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แสดงให้เห็นว่าประชากรทั้งหมดในประเทศ ไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นที่อาศัยอยู่ในสังคม รัฐจึงควรตระหนักถึงปัญหาในประเด็นในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในกรณีของสิทธิของผู้ต้องหา เช่น การรับรู้ข้อมูล ตอบคำให้การ หรือ การต่อสู้คดีการตอบคำถามต่าง ๆ เพราะผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีปัญหาทาง สภาวะของสมอง จิตใจ โดยถือเป็นกลุ่มเปราะบาง ดังนั้นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกระทำ ความผิดอาจมิได้เกิดมาจากสันดานโดยอาจิณแต่อาจมาจากระบบการทำงานของสมอง รวมไปถึง สุขภาพทางร่างกาย และจิตใจ อีกทั้งยังมีโรคภัยต่าง ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง โดยหากมองว่าผู้สูงอายุ เป็นบุคคลกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถมีกระบวนทางความคิดที่รอบคอบมีความทรงจำที่หลง ๆ ลืม ๆ ได้ง่าย ดังนั้น ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้มีการกำหนด กระบวนการจับกุม สอบสวน และการปล่อยตัวชั่วคราวให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพ และมาตรการที่คุ้มครอง ผู้กระทำความผิดที่สูงอายุ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3