การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
27 เปิดเผยกระทำเพื่อเป็นการให้ประชาชนได้ควบคุมการทำงานในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลใน ฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การพิจารณาความโดยหลักเปิดเผยเป็นแนวคิดของการบริหารงานยุติธรรมแบบเสรีนิยม มีที่มาจากการต่อต้านการพิจารณาคดีโดยลับของศาลบางศาลในสมัยก่อน เช่น ศาลสตาร์แชมเบอร์ ของสหราชอาณาจักร เพื่อลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการเก็บภาษี หรือใน ภาคพื้นยุโรปก่อนการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้น (นิพนธ์ ใจสำราญ และคณะ, 2554) ดังปรากฏตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติวางหลักการพิจารณาคดีต้องกระทำโดย เปิดเผย มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น สำหรับการพิจารณาลับ กรณีการพิจารณาลับจะกระทำได้ภายในกรอบที่จำกัด มาตรา 177 ศาลมีอำนาจสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ เมื่อเห็นสมควรโดยพลการหรือโดย คำร้องขอของคู่ความฝ่ายใด แต่ต้องเพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศมิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน การพิจารณาคดีที่ต้องกระทำโดยเปิดเผยก็เพื่อให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก แต่การ แสดงเป็นการเรียกร้องผู้ชมผู้ฟัง การพิจารณาคดีที่เปิดเผยจนเป็นการแสดงย่อมกระทบต่อศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และความเป็นอิสระของผู้พิพากษา นอกจากนั้นคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้อง อ่านโดยเปิดเผยเสมอไม่ว่าการพิจารณาคดีจะเป็นไปโดยเปิดเผย หรือพิจารณาลับ ตามมาตรา 182 วรรคสอง โดยหลักนี้มุ่งคุ้มครองคู่ความจากการพิจารณาที่เป็นการลับ และตามอำเภอใจของผู้ใช้ อำนาจรัฐ ด้วยการพิจารณาที่โปร่งใส และประชาชนสามารถมีสิทธิในกระบวนพิจารณาด้วย หลักนี้ ยังเป็นหลักประกันที่จำเป็นว่าประชาชนทุกคนสามารถรับรู้การดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยเฉพาะ ในกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาความมักจะห้ามการบันทึกภาพ และเสียง รวมทั้งการถ่ายทอดภาพ และเสียงของการพิจารณาสู่สาธารณชน หลักนี้ยังมีขอบเขตการใช้บังคับทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และ คดีปกครอง ทำให้การใช้อำนาจรัฐในการพิจารณาคดีจะต้องตรงไปตรงมาตรวจสอบได้ ประชาชนเกิด ความเชื่อถือ (วรรณชัย บุญบำรุง, 2559) 6. หลักความเป็นอิสระในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ผลของคำพิพากษาในคดีอาญา ต้องตัดสินอยู่บนพื้นฐานของ “ความจริง” อันเป็นสิ่งที่ผู้พิพากษาค้นพบจากกระบวนการตรวจสอบ ค้นหาความจริงแท้เป็นผลมาจากการสืบพยานในศาลนั่นเอง ด้วยเหตุผลที่มีความเป็นภาวะวิสัย การ เชื่อหรือไม่เชื่อพยานหลักฐานชิ้นใดต้องสามารถแสดงเหตุผลได้ หน้าที่ในการชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของศาล ตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการชั่ง น้ำหนักพยานหลักฐาน คือ มาตรา 227 วรรคแรก มาตรา 227 ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษา ลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นการชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานเป็นเรื่องของศาลโดยเฉพาะ ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานไม่มีหลักเกณฑ์ผูกมัดศาล แม้คำพยานผู้เชี่ยวชาญก็ต้องมีการชั่งน้ำหนัก ในปี พ.ศ.2551 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 227/1
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3