การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

28 การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในมาตรา 227 เป็นเรื่องดุลพินิจของศาล ไม่มีกฎหมาย กําหนดเกณฑ์การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด แต่การใช้ดุลพินิจดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า เป็นดุลพินิจตามอําเภอใจปราศจากขอบเขตไม่เช่นนั้นแล้ว การกระทําของจําเลยอย่างเดียวกัน ผู้ พิพากษาศาลหนึ่งอาจวินิจฉัยว่าเป็นความผิด และอีกศาลหนึ่งอาจวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิด การใช้ ดุลพินิจจึงต้องเห็นชอบด้วยเหตุผลเบื้องต้นในการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหลักพยานหลักฐานในคดีอาญา และต้องอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่ศาลมี อิสระที่จะใช้อํานาจตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อใช้สําหรับประกอบ ดุลพินิจของศาล เพื่อการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา 227 ที่ต้องการคุ้มครองสิทธิของจําเลยไม่ให้ถูกลงโทษ เว้นแต่ศาลจะเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่ามีการกระทําผิดจริง จําเลยเป็นผู้กระทําความผิดนั้น (ธวัช พงษ์สุธางค์, 2563) 7. หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย กล่าวคือในกรณีใดก็ตามที่ยังมีความสงสัยตามควรใน ข้อเท็จจริงในคดี กรณีนั้นต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีกับผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับหลักนี้ คือมาตรา 227 วรรคสอง มาตรา 227 วรรคสอง เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยก ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย มาตรานี้เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญที่ว่า “ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา และจำเลยไม่มีความผิดหรือผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่า ศาลจะพิพากษาถึงที่สุด อันเป็นหลักนิติรัฐที่สำคัญซึ่งหลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยใช้เฉพาะความ สงสัยในข้อเท็จจริงเท่านั้น คดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานมาสืบให้ปราศจากสงสัย แต่ในคดี แพ่งศาลต้องดู พยานหลักฐานทุก ๆ ฝ่ายแล้วพิจารณาว่า พยานหลักฐานทั้งหมดนั้นหนักไปฝ่ายใด แม้ว่าไม่ถึงกับ ปราศจากข้อสงสัยศาลก็ยังชี้ขาดให้ฝ่ายนั้นชนะคดีได้ ดังนี้ หลักในการฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญา แตกต่างจากหลักการฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง (คณิต ณ นคร, 2549) ตามมาตรา 186(6) แสดงให้เห็นชัดว่าการพิพากษาตัดสินคดีต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของ หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีกับผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมี เหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ตามมาตรา 186(6) ศาลต้องให้เหตุผลใน การตัดสินทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย การไม่ให้เหตุผลในการตัดสินคดีเป็นการกระทำที่ขัดต่อ ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบภายนอก เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบภายนอก การให้เหตุผลของศาลต้องให้เหตุผล อย่างมีความเป็นภาวะวิสัยที่สามารถตรวจสอบได้ ตามมาตรา 186(6) ศาลต้องให้เหตุผลในการตัดสิน ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย การไม่ให้เหตุผลในการตัดสินคดีเป็นการกระทำที่ขัดต่อความเป็นอิสระ ของผู้พิพากษา เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบภายนอก การให้เหตุผลของ ศาลต้องให้เหตุผลอย่างมีความเป็นภาวะวิสัยที่อาจตรวจสอบได้ ปัจจุบันยอมรับกันว่า presumption of innocence เป็นหลักสิทธิมนุษยชน และเป็น พื้นฐานสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีหลักฐานว่าหลักนี้ปรากฏอยู่ในกฎหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3