การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

29 ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับสากล และระดับภูมิภาคทุกฉบับ และหลาย ประเทศรับรองไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ ส่วน in dubio pro reo แม้จะไม่ปรากฏว่ามีการบรรจุไว้ใน กฎหมายระหว่างประเทศ แต่ทุกระบบกฎหมายต่างยอมรับบังคับใช้ในระดับกฎหมายภายใน ทั้งในรูป ของการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือปรับใช้ในลักษณะหลักกฎหมายทั่วไป โดยปรากฏอย่าง เด่นชัดในภาคพื้นยุโรป (ชยาธร เฉียบแหลม, 2563) ดังนั้นโดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าหลักในการดำเนินคดีอาญาร่วมไปถึงหลักในการพิจารณา คดีอาญานั้นจะต้องคำนึกถึงความถูกต้องเพราะเป็นหลักการค้นหาความจริงต่อสู่กันด้วย พยานหลักฐานเป็นสำคัญโดยบุคคลจะได้รับความคุ้มครอง จากหลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยซึ่ง บุคคลทุกคนควรได้รับก็เพราะหลักนี้ก็ได้กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องให้ความสำคัญ โดยอย่างกับผู้ต้องหาที่สูงอายุในการที่ได้เข้ามาสู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งผู้วิจัยให้ ความสำคัญในชั้นสอบสวน และชั้นจับกุม หากต้นน้ำดีปลายน้ำก็จะดีตามด้วยกล่าวคือหากบุคคลกลุ่ม นี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมแล้วนั้นก็จะส่งผลในทางรูปคดีและเกิดความยุติธรรม 2.2.3 แนวคิดทฤษฎีและกระบวนการในชั้นสอบสวน 2.2.3.1 แนวคิดและทฤษฎีสอบสวน 1) แนวคิดการสอบสวนคดีอาญา การสอบสวนคดีอาญาเป็นกลไกหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่รัฐ ออกแบบขึ้นมาใช้ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม บรรดาอารยประเทศทั้งหลายล้วนมี กระบวนการสอบสวนใน แบบของตนตามที่ระบบกฎหมายกำหนดแต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเป็น ประเทศเล็ก หรือประเทศใหญ่ ประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาแล้วจะมอบหน้าที่การ สอบสวนคดีอาญาเบื้องต้นให้อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจเนื่องจากตำรวจมีอำนาจหน้าที่รักษา ความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม และการสอบสวนคดีอาญาเป็นหน้าที่ต่อเนื่องจากภารกิจรักษาความ สงบเรียบร้อยซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ของตำรวจและความต่อเนื่องในการควบคุมอาชญากรรม ร่วมเป็นกระบวนการสอบสวนคดีอาญาด้วยเสมอ การดำเนินคดีชั้นก่อนฟ้องคดีโดยเจ้าพนักงานจึงใช้ กระบวนการสอบสวนนี้เป็นเครื่องมือค้นหาและพิสูจน์ ความจริงเป็นกระบวนการแรกเริ่มในการเข้าสู่ กระบวนการทางอาญาเพื่อชี้ขาดคดีเบื้องต้น หรือใช้เป็นฐานข้อเท็จจริงในการชี้ขาดคดีของศาลนั่นเอง จึงเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งดังนั้นควรจะต้องควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อ กระบวนการภายหลังในชั้นสอบสวนนั้นเกิดความถูกต้องและความยุติธรรมอย่างแท้จริง (กรม สอบสวนคดีพิเศษ, 2559) 2) ทฤษฎีการสอบสวน ทฤษฎีการสอบสวนนี้เป็นการนำเอาหลักค้นหาความจริงและหลักเหตุผลมาใช้ เป็นหลักแนวคิด ในการสอบสวนรวบพยานหลักฐาน เพื่อให้ได้พยานหลักฐานที่เป็นความจริงและ ถูกต้องอันจะทำให้เกิดความยุติธรรมตามความเป็นจริงได้แน่แท้สำหรับหลักการค้นหาความจริงใน คดีอาญาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาความจริงตามแบบโดยศาลถูกจำกัดด้วยรูปแบบให้มี บทบาทเป็นคนกลางคอยควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคดี การนำเสนอพยานหลักฐาน ที่ สามารถรับฟังได้และอาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความยอมรับกันได้โดยไม่ต้องนำสืบในศาลอีกครั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3