การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

30 และการค้นหาความจริงในเนื้อหาคือการตรวจสอบค้นหาความจริงอย่างจริงแท้โดยศาลไม่ถูกจำกัด ด้วยรูปแบบ (ณรงค์ ใจหาญ, 2559) ส่วนหลักเหตุผลเป็นการนำความเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน ของพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีความเชื่อมโยงสอดคล้องต้องกันของพยาน นั้น ๆ เป็นหลักในการพิเคราะห์ความเป็นเหตุและผลของพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้มาว่าสามารถ ค้นหาความจริงได้อย่างสมเหตุสมผลสามารถรับฟังได้หรือไม่ เป็นต้น 3) หลักฟังความทุกฝ่าย หลักฟังความทุกฝ่ายเป็นกระบวนการดำเนินคดีอาญาที่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูก กล่าวหาสามารถ แก้ข้อกล่าวหาได้ทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล กระบวนการชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานต้องรับฟัง พยานหลักฐานของผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหาเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิที่จะ มีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ 4) หลักอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน หลักอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกันเป็นหลักการที่เกี่ยวข้อง กับระบบ การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ มาจากแนวคิดที่ว่ารัฐมีหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยแก่สังคม รัฐจึงมีอำนาจดำเนินคดีอาญาซึ่งโดยพื้นฐานทั่วไปจะกำหนดให้หน่วยงานตำรวจ มีหน้าที่ในการรักษา ความสงบเรียบร้อยภายในมีภารกิจหลัก คือ การควบคุมป้องกันสังคมให้ปลอดอาชญากรรมและให้ ตำรวจมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาเมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้นด้วย(วศินี วงศ์นิติ, 2550) ตามหลักการ ดำเนินคดีอาญาโดยรัฐเมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นรัฐย่อมเป็นผู้เสียหาย เว้นแต่ความผิดบางประเภท ที่ ไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) รัฐอาจผ่อนคลายให้เอกชนที่ได้รับความเสียหายเป็นผู้ ฟ้องคดีอาญาด้วยตนเองได้ เมื่อรัฐเป็นผู้เสียหายในคดีอาญารัฐจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการหาตัว ผู้กระทำผิดมาลงโทษ โดยพนักงานอัยการเป็นเจ้าพนักงานผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ฟ้องร้องดำเนินคดีกับ ผู้กระทำผิด และตามหลักอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนเดียวกันนี้ถือว่ากระบวนการสอบสวน ของตำรวจและกระบวนการฟ้องร้องของพนักงานอัยการเป็นกระบวนการเดียวกันที่มิอาจแบ่งแยก ออก จากกันมิได้ ด้วยเหตุเพราะต่างก็เป็นกระบวนการดำเนินคดีในชั้นก่อนฟ้อง ฉะนั้นตามหลักการนี้ พนักงานอัยการจะเป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวนและการฟ้องร้องคดี ส่วนตำรวจจะทำหน้าที่เป็นผู้ สอบสวนเบื้องต้นและเป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานอัยการเท่านั้น (อรุณี กระจ่างแสง, 2532) ประเทศที่ใช้ หลักอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกันในกระบวนการสอบสวนคดีอาญาคือประเทศ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น เป็นต้น 5) หลักแยกอำนาจสอบสวนออกจากอำนาจฟ้องร้อง หลักแยกอำนาจสอบสวนออกจากอำนาจฟ้องร้องเป็นหลักที่แยกความรับผิดชอบ การดำเนินคดีอาญาชั้นเจ้าพนักงานออกเป็นสองส่วน คือส่วนแรกการสอบสวนคดีอาญามอบอำนาจ ให้ตำรวจรับผิดชอบ ส่วนที่สองคือการฟ้องร้องและดำเนินคดีในชั้นศาลมอบอำนาจให้พนักงานอัยการ รับผิดชอบ (จิราธร เจริญวุฒิ, 2550) ตามหลักการนี้ตำรวจมีบทบาทหลักเป็นผู้ควบคุมดูแลการ สอบสวนคดีอาญาขณะที่พนักงานอัยการมีบทบาทในขั้นตอนการสอบสวนน้อยมาก หรือไม่มีบทบาท เลยที่เดียว พนักงานอัยการจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ไตร่ตรองคดีที่ตำรวจทำการสอบสวนรวบรวมแล้ว ส่งมาให้พิจารณาเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจและพนักงานอัยการตามหลักการนี้มีลักษณะ เป็นแนวราบแยกออกจากกัน ประเทศที่ใช้หลักแยกอำนาจสอบสวนออกจากอำนาจฟ้องร้องใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3