การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

31 กระบวนการสอบสวนคดีอาญาคือประเทศอังกฤษ ประเทศแคนนาดาในบางมลรัฐ และประเทศไทย เป็นต้น 6) ความหมายการสอบสวนคดีอาญา การสอบสวนคดีอาญา หมายถึง การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน และการ ดำเนินการทั้งหลายอื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการไปที่เกี่ยวกับ ความผิดที่กล่าวหาเพื่อจะทราบ ข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำความผิด และ จะต้องพิสูจน์ให้เห็นความผิด และเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องเพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป หรือเพื่อพิสูจน์ ให้เห็นความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(11) และ มาตรา 131.) 7) วัตถุประสงค์การสอบสวนคดีอาญา การสอบสวนคดีอาญามีวัตถุประสงค์ค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือ บริสุทธิ์ของผู้ถูก กล่าวหา และเพื่อการชี้ขาดข้อกล่าวหาเบื้องต้น วัตถุประสงค์การสอบสวนแบ่ง ออกเป็นวัตถุประสงค์ ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(11) มาตรา 120 และมาตรา 131 ได้แก่ กล่าวหา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(11) และมาตรา 120.) เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆเกี่ยวกับความผิดที่ กล่าวหา เพื่อจะ รู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อจะ เอาตัวผู้กระทำผิด มาฟ้องลงโทษ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อให้อัยการมีอำนาจ ฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาล และวัตถุประสงค์ตามสภาพความเป็นจริงซึ่งสรุปตามบริบท การบริหาร กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ เพื่อให้การดำเนินคดีอาญามี ประสิทธิภาพ และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนตามหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐเพื่อ ค้นหาข้อเท็จจริงและความจริงที่แท้จริงในคดีอาญาเรื่องนั้น ๆ ด้วยวิธีการที่กฎหมายกำหนดตาม แนวคิดทฤษฎีความชอบ ด้วยกระบวนการทางกฎหมายเพื่อใช้เป็นฐานแห่งข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐาน นำเสนอต่อศาลในการพิจารณาพิพากษาชี้ขาดคดีและเพื่อให้กฎหมายเกิดสภาพบังคับ ในการควบคุม อาชญากรรม และการรักษาความสงบสุขของสังคมในภาพรวมตามแนวคิดทฤษฎี ควบคุมอาชญากรรม 8) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวน กระบวนการสอบสวนคดีอาญานับแต่มีการกระทำความผิดขึ้นแล้วมีการสืบสวน สอบสวน จนถึงการออกคำสั่งทางคดีและฟ้องร้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาล จะมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ พนักงาน สอบสวน เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา ผู้กล่าวหาคำว่าผู้ กล่าวหานี้ มิได้บัญญัตินิยามไว้ในกฎหมายโดยตรงแต่เป็นคำที่นิยมใช้กันในแวดวงของพนักงาน สอบสวน หมายถึง ผู้ที่เป็นคู่ความกับผู้ต้องหาในคดีที่สอบสวนผู้กล่าวหาแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภท แรก ได้แก่ บุคคลที่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นโดยตรง ประเภทที่สองได้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในคดีที่รัฐเป็น ผู้เสียหาย ซึ่งพนักงานสอบสวนสอบปากคำเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้เสียหายรวมเข้าสำนวนการ สอบสวนในฐานะ“ผู้กล่าวหา”เป็นปากแรกเพื่อเริ่มต้นคดี และใช้เรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับในการ สอบสวนดำเนินคดี ชั้นเจ้าพนักงาน ถัดมาคือ พนักงานอัยการ ศาล หน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการ เช่น หน่วยแพทย์ นิติเวช นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และหน่วยงานบังคับตามคำสั่งศาลใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3